คีเฟอร์

คีเฟอร์
คีเฟอร์กำลังถูกเทลงแก้ว
ชื่ออื่นนมเปรี้ยวคีเฟอร์
ส่วนผสมหลักน้ำนม, เมล็ดคีเฟอร์ (แบคทีเรีย, ยีสต์, โปรตีน, ไขมัน, น้ำตาล)

คีเฟอร์ (อังกฤษ: kefir, รัสเซีย: кефир) เป็นนมเปรี้ยวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายโยเกิร์ต เตรียมโดยใช้ยีสต์และแบคทีเรียของเมล็ดคีเฟอร์ (kefir grains) มีต้นกำเนิดจากยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งภูมิภาคนี้เตรียมคีเฟอร์โดยการปลูกเชื้อด้วยเมล็ดคีเฟอร์ในนมวัว นมแพะ หรือนมแกะ

ชื่อและต้นกำเนิด

คำว่า “คีเฟอร์” ในภาษารัสเซียปรากฏขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1867 อาจมาจากภาษารัสเซียหรือภาษาในยุโรปตะวันออก หรืออาจมาจากภาษาใดภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเตอร์กิก คือ köpür (แปลว่า ฟอง) หรือจากภาษาเปอร์เซีย คือ kef (แปลว่า ฟอง)

ในอดีตคีเฟอร์เตรียมโดยการใช้ถุงหนังแพะที่แขวนใกล้ทางเข้าประตู ถุงเหล่านี้จะถูกตีไปมาด้วยประตูเวลาคนเดินเข้าออก การตีไปมานั้นทำให้ส่วนประกอบของคีเฟอร์ คือนมกับเมล็ดคีเฟอร์ ผสมเข้ากันดี ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 คีเฟอร์ได้เป็นที่รู้จักทั่วยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา และเมื่อเป็นที่รู้จักในลาตินอเมริกา คนในกลุ่มประเทศนี้ก็เรียกคีเฟอร์ว่า búlgaros ซึ่งแปลว่า เครื่องดื่มบัลแกเรีย

อ้างอิง

  1. Kaewprasert, P. (2009). Production of kefir liked product from mix cultures of saccharomyces cerevisiae, streptococcus cremoris and streptococcus lactis= การผลิตผลิตภัณฑ์คล้ายคีเฟอร์จากเชื้อผสมของแซคคาโรมัยซีสเซเรวิสิอีม,สเตร็ปโตคอคคัสครีโมริสกับสเตร็ปโตคอคคัสแลคติส (Doctoral dissertation, Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University, 2009).
  2. รุ่งโรจน์ ศรีรักษา, ศิริรัตน์ ดีศีลธรรม, อนุชิตา มุ่งงาม, & เกษศิริ นทร์ศักดิ์วิวัฒกุล. (2013). ฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียและคุณสมบัติการทนความร้อนของแบคเทอริโอซินที่ผลิตจากคีเฟอร์. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 9(1), 231-235.
  3. ศานต์ เศรษฐชัยมงคล, & อัญชิสา กุลทวีสุข. (2018). นมเปรี้ยวคีเฟอร์: เทคโนโลยีชีวภาพจากมุมมองวิทยาการด้านโอมิกส์ (Kefir: Biotechnology from “~ omics” Perspectives). Journal of Food Technology, Siam University, 13(1), 1-18.
  4. 4.0 4.1 4.2 Prado, Maria R.; Blandón, Lina Marcela; Vandenberghe, Luciana P. S.; Rodrigues, Cristine; Castro, Guillermo R.; Thomaz-Soccol, Vanete; Soccol, Carlos R. (30 October 2015). "Milk kefir: composition, microbial cultures, biological activities, and related products". Frontiers in Microbiology. 6. doi:10.3389/fmicb.2015.01177. ISSN 1664-302X. PMC 4626640. PMID 26579086.
  5. Altay F, Karbancıoglu-Güler F, Daskaya-Dikmen C, Heperkan D (October 2013). "A review on traditional Turkish fermented non-alcoholic beverages: microbiota, fermentation process and quality characteristics". Int J Food Microbiol. 167 (1): 44–56. doi:10.1016/j.ijfoodmicro.2013.06.016. PMID 23859403.
  6. "Origin of KEFIR". Merriam-Webster Dictionary Online.
  7. 7.0 7.1 "The American Heritage® Dictionary of the English Language – kefir".
  8. Prescott; Harley; Klein (2008). Microbiology (7th ed.). London: McGraw–Hill. p. 1040. ISBN 978-0-07-110231-5.
  9. Sando, Lillian (September 2015). "Kefir Consumption—a Growing Culture". International Milk Genomics Consortium. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  10. Arslan, Seher (26 November 2014). "A review: chemical, microbiological and nutritional characteristics of kefir". CyTA – Journal of Food. 13 (3): 340–345. doi:10.1080/19476337.2014.981588.