มิวสิกเบรนซ์

favicon of MusicBrainz MusicBrainz
MusicBrainz logo since February 2016
ประเภทสารานุกรมออนไลน์ทางด้านดนตรี
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาอังกฤษ
เจ้าของมูลนิธิ MetaBrainz
สร้างโดยRobert Kaye
ยูอาร์แอลmusicbrainz.org
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนเป็นทางเลือก
(ต้องการสำหรับการเพิ่มและแก้ไขข้อมูล)
ผู้ใช้แอ็กทีฟ ≈ 250,000 บัญชี
ลิขสิทธิ์เนื้อหาส่วนของ Creative Commons Zero (ข้อมูลแบบเปิด)
และส่วนของ CC-BY-NC-SA (ไม่ใช่ข้อมูลแบบเปิด); มีใบอนุญาตเชิงพาณิชย์
เขียนด้วยภาษาเพิร์ล
และระบบจัดการฐานข้อมูลโพสต์เกรสคิวเอล

MusicBrainz คือโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมฐานข้อมูลทางดนตรีคล้ายคลึงกับโครงการ freedb โดย MusicBrainz ก่อตั้งขึ้นจากปัญหาข้อจำกัดในการบันทึกข้อมูลบน คอมแพ็กดิสก์ดาต้าเบส (CDDB) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสำหรับโปรแกรมแอพลิเคชั่นที่ต้องการข้อมูลจากออดิโอซีดี (compact disc) ซึ่งต่อมา MusicBrainz ได้ขยายเป้าหมายที่กว้างขึ้นกว่าข้อมูลที่บรรจุอยู่ในคอมแพ็กดิสก์ก็คือ เมทาดาต้า (ข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้แสดง, ศิลปิน, นักแต่งเพลง เป็นต้น) ซึ่งเป็นการสร้างฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับดนตรี MusicBrainz จัดเก็บข้อมูลของศิลปิน, งานบันทึกเสียง และสิ่งที่เกี่ยวข้องต่างๆ สำหรับงานบันทึกเสียงขั้นต่ำเป็นการจัดเก็บชื่ออัลบั้ม, ชื่อแทร็ก, และความยาวของแต่ละแทร็ก ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาเหล่านี้ได้รับการเขียนและตรวจสอบโดยนักเขียนอาสาสมัครซึ่งปฏิบัติตามข้อกำหนดการเขียนของชุมชน (style guidelines) งานบันทึกเสียงเหล่านั้นอาจจะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับประเทศและวันแรกที่เผยแพร่, CD ID, cover art, acoustic fingerprint, คำอธิบายประกอบและเมทาดาต้าอื่นๆ ถึงวันที่ 20 กันยายน 2561 MusicBrainz มีฐานข้อมูลโดยประมาณประกอบด้วย 1.4 ล้านรายชื่อศิลปิน, 2 ล้านผลงานและ 19 ล้านแทร็กบันทึกเสียง ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถสื่อสารกับ MusicBrainz เพื่อเพิ่มเมทาดาต้าแท็ก (metadata tag) ให้กับไฟล์สื่อดิจิทัล เช่น FLAC, MP3, Ogg Vorbis หรือ AAC

Cover Art Archive

MusicBrainz อนุญาตให้ผู้มีส่วนร่วมนำภาพหน้าปกของงานเพลงที่ออกสู่สาธารณะอัปโหลดไปยังฐานข้อมูล ภาพเหล่านี้เผยแพร่โดย Cover Art Archive (CAA) ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่าง อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ (Internet Archive) และ MusicBrainz จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2555 Internet Archive มอบแบนด์วิดธ์, การจัดเก็บและการป้องกันทางกฎหมายสำหรับการเผยแพร่ภาพในขณะที่ MusicBrainz จัดเก็บข้อมูลเมทาดาต้าและให้การเข้าถึงสาธารณะผ่านเว็บและผ่านส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) สำหรับบุคคลที่สามที่จะนำไปใช้ และเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมอื่น ๆ ทางชุมชน MusicBrainz จะเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบและดูแลข้อมูลเหล่านี้ ภาพหน้าปกของงานเพลงได้รับการวางจำหน่ายบนแอมะซอน.คอม และบนสื่อออนไลน์อื่น แต่ CAA ได้รับสิทธิ์เนื่องจากทำให้ชุมชนสามารถควบคุมและจัดการภาพได้อย่างยืดหยุ่น

Fingerprinting

นอกจากการเก็บรวบรวมเมทาดาต้าเกี่ยวกับดนตรีแล้ว MusicBrainz ยังเก็บข้อมูลงานบันทึกเสียงโดย acoustic fingerprint โดยจะต้องใช้โปรแกรมเฉพาะอย่างเช่น MusicBrainz Picard สำหรับการบันทึกและจัดการ

บริการที่ไม่ได้เป็นสาธารณสมบัติ

ในปี 2543 MusicBrainz เริ่มใช้อัลกอริทึม TRM (This Recognizes Music) ซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัท Relatable สำหรับระบุเพลงที่เกี่ยวข้องโดยการจับคู่ acoustic fingerprint ซึ่งคุณสมบัตินี้ดึงดูดให้มีผู้ใช้มากขึ้นและทำให้ฐานข้อมูลขยายขนาดอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 TRM แสดงผลผิดพลาดโดยมีการซ้ำซ้อนกันของข้อมูลขณะที่จำนวนของแทร็กดนตรีในฐานข้อมูลขยายขนาดขึ้นกว่าล้านข้อมูล กรณีนี้ถูกแก้ไขในเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อ MusicBrainz ร่วมเป็นพันธมิตรกับ MusicIP (ปัจจุบันคือ AmpliFIND) โดยทำการแทนที่ TRM ด้วย MusicDNS TRM ค่อยๆ ถูกเลิกใช้และถูกแทนที่โดย MusicDNS ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ต่อมาในเดือน ตุลาคม 2552 MusicIP ถูกซื้อโดย AmpliFIND ทำให้การเรียกค้นข้อมูลจากบริการ MusicDNS หลังจากนั้นเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในบางครั้ง

AcoustID และ Chromaprint

ตั้งแต่อนาคตของการให้บริการระบุตัวตนที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายมีความไม่แน่นอน จึงได้มีการมองหาบริการที่จะมาทดแทน หนึ่งในนั้นคืออัลกอริทึมสำหรับ acoustic fingerprint ที่ชื่อว่า Chromaprint ซึ่งเป็นพื้นฐานของบริการระบุตัวตนที่ชื่อว่า AcoustID ที่ได้เริ่มใช้งานในปี 2553 โดย Lukáš Lalinský ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมมาอย่างยาวนานในชุมชน MusicBrainz ขณะที่ AcoustID และ Chromaprint ไม่ใช่โครงการที่เป็นทางการของ MusicBrainz แต่ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดและเป็นโอเพนซอร์ซเช่นกัน Chromaprint ทำงานโดยวิเคราะห์สองนาทีแรกของแทร็ก ตรวจสอบระดับของแต่ละโน้ตใน 12 pitch classes และบันทึกในอัตรา 8 ตัวอย่างต่อวินาที หลังจากนั้นข้อมูล fingerprint จะผ่านขั้นตอน post-processing เพิ่มเติมเพื่อบีบอัดข้อมูลที่รูปแบบของแพทเทิร์นเสียงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง AcoustID จะค้นหาเซิฟเวอร์และค้นหา fingerprints จากฐานข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและคืนค่าบ่งชี้ AcoustID และข้อมูลบ่งชี้ที่บันทึกไว้ของ MusicBrainz ถ้ามีการตรวจพบ

การอนุญาตสิทธิ์

ตั้งแต่ปี 2546 ข้อมูลหลักของ MusicBrainz (artists, recordings, releases และอื่นๆ ) จะเป็นสาธารณสมบัติ (อยู่ใน public domain) ขณะที่เนื้อหาเพิ่มเติม รวมถึงข้อมูลควบคุม (โดยเฉพาะข้อมูลต้นฉบับทั้งหมด original content ที่เขียนขึ้นโดยผู้ใช้และรายละเอียดเพิ่มเติม) จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดครีเอทีฟคอมมอนส์และสัญญา CC-BY-NC-SA-2.0 สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) ซึ่งใช้ โพสต์เกรสคิวเอล(PostgreSQL) และซอฟต์แวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์จะอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู MusicBrainz ไคลเอนต์ ซอฟต์แวร์ไลบรารี (libmusicbrainz) อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู ซึ่งอนุญาตให้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่สาธารณะสามารถนำโค้ดไปใช้ได้ ในเดือนธันวาคม 2547 โครงการ MusicBrainz ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นมูลนิธิ MetaBrainz ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรก่อตั้งขึ้นโดย Robert Kaye ในวันที่ 20 มกราคม 2549 หน่วยงานธุรกิจแห่งแรกที่ใช้ข้อมูลจาก MusicBrainz เป็นบริษัท Linkara จากบาร์เซโลนา ประเทศสเปนโดยใช้ในบริการ Linkara Música วันที่ 28 มิถุนายน 2550 BBC ได้ประกาศว่าได้รับสิทธิ์ในการใช้งานข้อมูล MusicBrainz แบบเรียลไทม์โดยเป็นส่วนเพิ่มในเว็บเพจเกี่ยวกับดนตรีของสถานี และผู้เขียนเรื่องดนตรีของ BBC ออนไลน์ จะเข้าร่วมกับชุมชน MusicBrainz เพื่อเผยแพร่ความรู้ของพวกเขาเข้าสู่ฐานข้อมูล ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 เวอร์ชันเบต้าของเว็บไซต์ BBC Music ได้ออกเผยแพร่ ซึ่งได้มีการนำเสนอเพจข้อมูลของศิลปินรายบุคคลจากฐานข้อมูล MusicBrainz

ไคลเอนต์ซอฟต์แวร์

  • AmarokKDE โปรแกรมเล่นไฟล์เสียง
  • Banshee – โปรแกรมเล่นไฟล์เสียงในหลายแพล็ตฟอร์ม
  • Beets – โปรแกรมอัตโนมัติซึ่งใช้ CLI เพื่อจัดการ/ติดป้ายแท็กไฟล์ดนตรีสำหรับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
  • Clementine – โปรแกรมเล่นไฟล์เสียงในหลายแพล็ตฟอร์ม
  • CDexCD ripper ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • Demlo – โปรแกรมจัดการไฟล์ดนตรีแบบยืดหยุ่นซึ่งใช้ CLI
  • foo_musicbrainz component สำหรับ foobar2000 – โปรแกรมคลังดนตรี/เล่นไฟล์เสียง
  • Jaikoz – โปรแกรมเอดิเตอร์เพื่อแก้ไขแท็กในภาษาจาวา
  • Max – โปรแกรม CD ripper และแปลงรหัสออดิโอในระบบปฏิบัติการแมคโอเอส เอ็กซ์
  • Mp3tag – โปรแกรมจัดการไฟล์ดนตรีและเอดิเตอร์เพื่อแก้ไขเมทาดาต้าในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดว์
  • MusicBrainz Picard – โปรแกรมเอดิเตอร์หลายแพล็ตฟอร์มเพื่อแก้ไขแท็กอัลบั้มเพลง

ผู้ใช้ Freedb สามารถเข้าถึงข้อมูลของ MusicBrainz ผ่านทาง freedb โพรโทคอลโดยใช้บริการเกทเวย์ MusicBrainz to FreeDB (mb2freedb)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "About". MusicBrainz. MetaBrainz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  2. 2.0 2.1 "Database Statistics". MusicBrainz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2018-09-20.
  3. "WHOIS Lookup". ICANN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-23.
  4. "Musicbrainz.org Traffic, Demographics and Competitors - Alexa". www.alexa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
  5. Highfield, Ashley (2007-06-27). "Keynote speech given at IEA Future Of Broadcasting Conference". BBC Press Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
  6. Swartz, A. (2002). "MusicBrainz: A semantic Web service" (PDF). IEEE Intelligent Systems. 17: 76–77. doi:10.1109/5254.988466. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-28.
  7. Fabian Scherschel (2012-10-10). "MusicBrainz and Internet Archive create cover art database". The H. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-07.
  8. "New fingerprinting technology available now!" (Press release). MusicBrainz community blog. 2006-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-03.
  9. "AmpliFIND Music Services Aims To Liberate Your Music". 2009-10-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  10. "Introducing Chromaprint – Lukáš Lalinský". Oxygene.sk. 2010-07-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  11. Jang, Dalwon; Yoo, Chang D; Lee, Sunil; Kim, Sungwoong; Kalker, Ton (2011-01-18). "How does Chromaprint work? – Lukáš Lalinský". IEEE Transactions on Information Forensics and Security. 4 (4): 995–1004. doi:10.1109/TIFS.2009.2034452. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  12. "MusicBrainz Licenses". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-13. สืบค้นเมื่อ 2015-10-23.
  13. "MusicBrainz License". 2010-11-13.
  14. Kaye, Robert (2006-03-12). "The MetaBrainz Foundation launches!" (Press release). MusicBrainz community blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-19. สืบค้นเมื่อ 2006-08-03.
  15. Kaye, Robert (2006-01-20). "Introducing: Linkara Musica". MusicBrainz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-12.
  16. Kaye, Robert (2007-06-28). "The BBC partners with MusicBrainz for Music Metadata". MusicBrainz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
  17. Shorter, Matthew (2008-07-28). "BBC Music Artist Pages Beta". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  18. "MusicBrainz and the BBC". 2013-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-20.

เอกสารอ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • MusicBrainz – เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
  • MusicBrainz – ข้อมูลที่เว็บไซต์ BBC Music
  • Cover Art Archive – เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ