สะมาริตัน

สะมาริตัน
ࠔࠌࠓࠉࠌ
שומרונים
السامريون
ชาวสะมาริตันประกอบพิธีปัสคาบนภูเขาเกริซิม ใกล้เมืองนาบลัส
ประชากรทั้งหมด
~840 (2021)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อิสราเอล (โฮโลน)460 (2021)
 ปาเลสไตน์ (คีร์ยาตลูซา)380 (2021)
ภาษา
ศาสนา
ศาสนาสะมาริตัน
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวยิว, ชนพูดกลุ่มภาษาเซมิติก เช่น ชาวอาหรับลิแวนต์, ชาวปาเลสไตน์, ชาวมันดาอี

สะมาริตัน (/səˈmærɪtənz/; ฮีบรูสะมาริตัน: ࠔࠠࠌࠝࠓࠩࠉࠌ, อักษรโรมัน: Šā̊merīm, แปลว่า ผู้พิทักษ์โทราห์; ฮีบรู: שומרונים, อักษรโรมัน: Šōmrōnīm; อาหรับ: السامريون, อักษรโรมัน: as-Sāmiriyyūn) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาที่มีกำเนิดจากวงศ์วานอิสราเอลโบราณ ชาวสะมาริตันเป็นคนพื้นถิ่นลิแวนต์และนับถือศาสนาสะมาริตัน ซึ่งเป็นศาสนาอับราฮัมหนึ่งที่ใกล้เคียงศาสนายูดาห์

ธรรมเนียมสะมาริตันยืนยันว่าพวกตนสืบเชื้อสายจากเผ่าเอฟราอิมและเผ่ามนัสเสห์ซึ่งเป็นเผ่าอิสราเอลทางเหนือที่ไม่ถูกเนรเทศโดยจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่หลังการทำลายราชอาณาจักรอิสราเอล พวกเขาถือว่าศาสนาสะมาริตันเป็นศาสนาของวงศ์วานอิสราเอลที่แท้จริงและเชื่อว่าศาสนายูดาห์ถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ชาวสะมาริตันนับถือภูเขาเกริซิมใกล้เมืองนาบลัสและเชเคมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่างจากชาวยิวที่นับถือเนินพระวิหารในเยรูซาเลม ชาวสะมาริตันกล่าวว่าความแตกแยกระหว่างศาสนาสะมาริตันกับศาสนายูดาห์เกิดจากอีไลละทิ้งพลับพลาที่ภูเขาเกริซิมไปสร้างพลับพลาของตนอีกแห่งที่ไชโลห์

แต่เดิมสะมาริตันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แต่ประชากรลดลงอย่างมากหลังจักรวรรดิไบแซนไทน์ปราบปรามกบฏสะมาริตันระหว่างค.ศ. 484–572 ประชากรสะมาริตันยิ่งลดลงเมื่อมีการบังคับเปลี่ยนศาสนาคริสต์ในสมัยไบแซนไทน์และศาสนาอิสลามช่วงการพิชิตลิแวนต์ของมุสลิม เบนยามินแห่งตูเดลา นักเดินทางชาวยิวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 บันทึกว่ามีชาวสะมาริตันหลงเหลือประมาณ 1,900 คนในปาเลสไตน์และซีเรีย ในปี ค.ศ. 2021 จำนวนประชากรสะมาริตันอยู่ที่ 840 คน แบ่งเป็นผู้อาศัยในหมู่บ้านคีร์ยาตลูซาในเวสต์แบงก์กับชุมชนสะมาริตันในเมืองโฮโลน นอกจากนี้ยังมีชาวสะมาริตันจำนวนหนึ่งในบราซิล ซิซิลีและอื่น ๆ ผู้นำศาสนาสะมาริตันคือมหาปุโรหิตสะมาริตัน ศาสนาสะมาริตันใช้ภาษาฮีบรูซามาริทันและภาษาอราเมอิกซามาริทันที่เขียนด้วยอักษรซามาริทันในพิธีกรรม ขณะที่ชาวสะมาริตันในคีร์ยาตลูซาพูดภาษาอาหรับเลอวานต์ใต้ ส่วนในโฮโลนพูดภาษาฮีบรูอิสราเอล

มีการเปลี่ยนศาสนาระหว่างยูดาห์กับสะมาริตันเป็นครั้งคราวในอิสราเอล ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการสมรสต่างศาสนา ศาสนายูดาห์รับบีซึ่งเป็นศาสนายูดาห์กระแสหลักในอิสราเอลถือว่าศาสนาสะมาริตันเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์ ขณะที่องค์การรับบีสูงสุดอิสราเอลกำหนดให้ชาวสะมาริตันต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนายูดาห์จึงจะได้รับการยอมรับเป็นชาวยิวตามหลักฮาลอกา วรรณกรรมรับบีปฏิเสธชาวสะมาริตันนอกจากพวกเขาจะละทิ้งความเชื่อว่าภูเขาเกริซิมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวงศ์วานอิสราเอล ชาวสะมาริตันที่ถือสัญชาติอิสราเอลในโฮโลนเข้ารับราชการทหารในกองกำลังป้องกันอิสราเอล ด้านชาวสะมาริตันในคีร์ยาตลูซาที่ถือสัญชาติอิสราเอลและปาเลสไตน์ได้รับการยกเว้นการรับราชการทหาร

เชิงอรรถ

หมายเหตุ

  1. ชาวสะมาริตันในเวสต์แบงก์ถือสัญชาติปาเลสไตน์
  2. ปัจจุบันจำนวนที่แน่นอนตามบันทึกของชาวสะมาริตันเองอยู่ที่ 705 คน ครึ่งหนึ่งอาศัยแถบภูเขาเกริซิม ใกล้เมืองนาบลัสในเขตเวสต์แบงก์ อีกครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองโฮโลน ใกล้เมืองเทลอาวีฟ
  3. Tractate Kutim 2:8: 'พวกเขาจะได้รับการยอมรับ (เปลี่ยนศาสนา?) หากพวกเขาปฏิเสธภูเขาเกริซิม และยอมรับเยรูซาเลมและการคืนชีพ ('They can only be accepted (i.e. as converts?) if they renounce Mount Gerizim, and recognize Jerusalem and the resurrection of the dead.') (Stern 2018, p. 105)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 SamUp 2022.
  2. Sabella 2011, p. 75,n.4.
  3. שַמֶרִים
  4. Shen et al. 2004, pp. 825–826, 828–829, 826–857.
  5. Denova, Rebecca (February 8, 2022). "Samaritans". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 23, 2022.
  6. Deuteronomy 16:6 (Samaritan Version) "Has Chosen"
  7. UNESCO World Heritage Centre (11 October 2017). "Mount Gerizim and the Samaritans". สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  8. Gonen 2003, p. 4.
  9. Marshall J., Breger; Ahimeir, Ora (2002). Jerusalem: A City and Its Future. Syracuse University Press. p. 296. ISBN 0-8156-2912-5. OCLC 48940385.
  10. Cohen-Hattab, Kobi; Bar, Doron (2020-06-15). The Western Wall: The Dispute over Israel's Holiest Jewish Site, 1967–2000 (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-43133-1.
  11. The Emergence of the Samaritan Community (Lecture given by Professor Abraham Tal at Mandelbaum House, August 2001) เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Mohr Siebeck. Editorial by Alan David Crown, Reinhard Pummer, Abraham Tal. A Companion to Samaritan Studies. p70-71.
  13. Levy-Rubin 2000, pp. 257–276.
  14. Crown, Pummer & Tal 1993, pp. 70–71.
  15. Rosenblatt 2002.
  16. Friedman 2007.
  17. Tsedaka 2015.
  18. "Keepers: Israelite Samaritan Identity Since Joshua bin Nun". Israelite Samaritan Information Institute (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-11-22.
  19. "Samaritan - Definition, Religion, & Bible". Britannica. สืบค้นเมื่อ November 23, 2022.
  20. Sela 1994, pp. 255–266.

แหล่งข้อมูลอื่น