เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล

เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ภาพถ่ายทางอากาศของสะพานมาร์โก โปโล ป้อมปราการหว่านผิงอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ
วันที่7–9 กรกฎาคม ค.ศ. 1937
สถานที่
ปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง ประเทศจีน
39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306
ผล

ชัยชนะทางยุทธวิธีของจีน
ชัยชนะทางยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่น

คู่สงคราม
 จีน  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
คันอิจิโร ทาชิโระ
กำลัง
ทหารประจำการที่สะพาน 100 นาย
กำลังเสริม 900 นาย
5,600 นาย
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 96 นาย เสียชีวิต 660 นาย
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโลตั้งอยู่ในเขตศูนย์กลางปักกิ่ง
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล
ที่ตั้งในเขตศูนย์กลางปักกิ่ง
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโลตั้งอยู่ในปักกิ่ง
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล
เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล (ปักกิ่ง)

เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล (อังกฤษ: Marco Polo Bridge Incident) มีอีกชื่อว่า เหตุการณ์สะพานหลูโกว (จีนตัวเต็ม: 盧溝橋事變; จีนตัวย่อ: 卢沟桥事变; พินอิน: Lúgōuqiáo Shìbiàn) หรือ เหตุการณ์ 7 กรกฎาคม (七七事變; 七七事变; Qīqī Shìbiàn) คือการรบระหว่างกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

เรื่องเดิม

สะพานมาร์โก โปโลในปัจจุบัน

ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียเมื่อ พ.ศ. 2474 แล้วสถาปนาประเทศ “แมนจูกัว” ยกให้ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลหุ่นที่เชิดโดยกองกำลังญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ที่นั่น แม้พรรคก๊กมินตั๋งและนานาประเทศไม่ยอมรับรองแต่กลับมีการเจรจาสงบศึกในปีเดียวกัน

ในปีต่อมา กองทัพจักรววรรดิญี่ปู่นเริ่มรุกรานดินแดนจีนที่จังหวัดชาฮา ถูกต่อต้านโดยกองทัพก๊กมินตั๋ง กองพลที่ 29 ที่ยังคงใช้หอกดาบและอาวุธล้าสมัยอยู่จึงพ่ายแพ้ ทำให้ภาคตะวันตกของปักกิ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น จากนั้นญี่ปุ่นก็ค่อย ๆ บุกรุกและผนวกแผ่นดินจีนไปเรื่อย ๆ ถึงปี พ.ศ. 2480 ก็สามารถยึดครองแผ่นดินโดยรอบกรุงปักกิ่งไว้ได้เกือบหมดเหลือเฉพาะด้านใต้ ญี่ปุ่นได้ตั้งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นปกครองเขตพื้นที่ที่ยึดได้อีกหลายแห่งรวมทั้งที่เมืองนานกิง

สะพานมาร์โคโปโล อยู่ด้านทิศใต้ของปักกิ่ง ทอดข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์สูง เชื่อกันว่าเป็นสะพานที่มาร์โก โปโลพรรณาไว้ในหนังสือที่เขาเขียน

จุดเริ่มต้นเหตุการณ์

ภาพจำลองเหตุการณ์การรบในเหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล ในพิพิธภัณฑ์ฮ่องกง

ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นส่งทหารจำนวนหลายร้อยนายมาตั้งหน่วยประจำที่สะพานมาร์โคโปโลและทำการฝึกอยู่ที่นั่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังทหารจีนก๊กมินตั๋งที่ประจำอยู่ที่เมืองหว่านผิงใกล้ ๆ กัน คอยเฝ้าระวังดูอยู่อย่างใกล้ชิด ในเช้าตรู่วันที่ 7 กรกฎาคม กองกำลังญี่ปุ่นได้โทรเลขไปถึงกองกำลังก๊กมินตั๋งว่ามีทหารของตนหายไปและเชื่อว่าไปซ่อนอยู่ในเมืองหว่านผิงจึงขอเข้าไปค้นหา (ภายหลังได้พบตัวโดยไม่ได้รับอันตราย) มีข้อถกเถียงกันว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือเป็นการสร้างเรื่องของฝ่ายญี่ปุ่นใช้อ้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นบุกเข้ายึดภาคกลางของประเทศจีน

ฝ่ายจีนปฏิเสธไม่ยอมให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าเมือง ในตอนเย็นวันนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดให้ฝ่ายจีนยอมให้ฝ่ายตนบุกเข้าไปค้นคนในเมืองได้ภายใน 1 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ ครั้นเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ญี่ปุ่นเริ่มยิงปืนใหญ่และเคลื่อนกองกำลังข้ามสะพานมาร์โคโปโลตรงไปจะเข้าเมือง ฝ่ายก๊กมินตั๋งจึงส่งทหารจำนวน 1,000 นาย เข้าป้องกันสะพานอย่างสุดความสามารถ แต่ญี่ปุ่นก็บุกข้ามไปได้ แต่หลังจากได้รับกำลังเสริมที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายจีนจึงสามารถยึดสะพานคืนได้สำเร็จในวันต่อมา ญี่ปุ่นด้วยจำนวนกองกำลังที่น้อยกว่าจึงขอเจรจา ทำให้เหตุการณ์ขั้นที่ 1 สงบลงได้ชั่วคราว แต่กองกำลังญี่ปุ่นยังคงตั้งประจำอยู่ที่เดิมไม่ยอมถอย

การปะทะกันตอนที่ 2

ฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ประชุมกันและตกลงว่าจะยึดสะพานต่อไปและพยายามที่จะไม่เจรจากับญี่ปุ่น เพราะเชื่อถือไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายจีนได้ส่งคนไปเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ฝ่ายญี่ปุ่นยอมเจรจาแต่จะถือว่าหากจีนเพิ่มกองกำลังก็จะถือว่าเป็นการยั่วยุ ซึ่งโดยแท้จริงขณะนั้นฝ่ายญี่ปุ่นกำลังซื้อเวลาด้วยการยอมเจรจาเพื่อรอการเคลื่อนย้ายกองกำลังจากส่วนอื่นมาสมทบ

การเจรจาครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสัญญาว่าจะไม่รุกรานปักกิ่งและเทียนจิน แต่ฝ่ายจีนต้องทำการปราบปราบองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นในเมืองทั้งสอง จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ประทะกันเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่สะพานมาร์โคโปโล และจะต้องให้นายพลซังผู้บัญชาการกองพล 29 เท่านั้นเป็นผู้มาขอขมาต่อกองกำลังญี่ปุ่น เมื่อฝ่ายจีนไม่สามารถรับเงื่อนไขได้ทั้งหมด ฝ่ายญี่ปุ่นจึงบุกเข้ากรุงปักกิ่งโดยใช้กองกำลังเต็มอัตราที่มีอยู่ กองกำลังฝ่ายจีนกองพันที่ 37 และ 132 พยายามฝ่าแนวญี่ปุ่นเข้านครปักกิ่งและถูกปิดกั้นอย่างหนักและก็สามารถฝ่าเข้าไปได้อย่างบอบช้ำ หลายวันต่อมาเมื่อถูกล้อมหนักมากขึ้น กองพล 29 จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของข้าศึกออกไปจากกรุงปักกิ่งแต่ก็ถูกล้อมอีก กองทัพญี่ปุ่นสามารถเข้ากรุงปักกิ่งได้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม โดยปราศจากการต่อต้านและตั้งนายพลซังเป็นนายกเทศมนตรี แต่เขาก็หนีออกจากเมืองไปอย่างลับ ๆ ในสัปดาห์ต่อมา

เหตุการณ์หลังจากนั้น

สุสานทหารจีนที่เสียชีวิตในการบสะพานมาร์โก โปโล

หลังจากกรุงปักกิ่งและเทียนจินถูกยึดครอง ที่ราบจีนตอนเหนือก็ตกเป็นเป้าการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นที่มีอาวุธทันสมัยต่อจนถูกยึดครองทั้งหมดในปลายปีนั้น กองทัพจีนก๊กมินตั๋งและกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้รบไปแต่ล่าถอยไปโดยตลอดจนกระทั่งได้รับชัยชนะต่อกองทัพญี่ปุ่นอย่างยากเย็นที่ไทเออซวง เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2480

วัฒนธรรมสมัยนิยม

  • ภาพยนตร์เรื่อง สงครามสะพานนรก (สงครามสะพานมาร์โก โปโล) (จีน: 七七事变 1995), เป็นภาพยนตร์จีนปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเหตุการณ์การปะทะระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพจีน (ที่ประกอบไปด้วยพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ในช่วงกรณีพิพาทที่สะพานมาร์โก โปโล วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Wang Yi (2004). Common Knowledge about Chinese History. Hong Kong China Travel Press. p. 185. ISBN 962-8746-47-2.
  2. "Qin Dechun". Generals.dk. สืบค้นเมื่อ 14 May 2015.
  3. Japanese War History library (Senshi-sousyo) No.86 Page138

แหล่งข้อมูลอื่น