โอลิวีน

Olivine
การจำแนก
ประเภทแร่
สูตรเคมี(Mg, Fe)2SiO4
คุณสมบัติ
สีเหลือง เหลืองเขียว
โครงสร้างผลึกออร์โทรอมบิก
แนวแตกเรียบ{010} ไม่ชัด
รอยแตกเปราะ
ค่าความแข็ง6.5–7
ความวาวเหมือนแก้ว
ดรรชนีหักเหnα = 1.630–1.650
nβ = 1.650–1.670
nγ = 1.670–1.690
คุณสมบัติทางแสงBiaxial (+)
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.040
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ3.27–3.37
ความโปร่งมีความโปร่งใสถึงโปร่งแสง
อ้างอิง:
Crystal structure of olivine.
Description: The dominant slip system in olivine changes with temperature from the {110} plane in the direction at low temperature to {010} plane in the direction at high temperature. At intermediate temperature, there are a number of slip systems in the direction.

โอลิวีน (อังกฤษ: Olivine) เป็นภาษาโบราณ หมายถึง สีเขียวมะกอก (Olive green) และยังหมายถึงว่า เป็น แร่ประกอบหิน แต่ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ เรียกว่า เพริดอต (Peridot) ส่วนคำว่า คริโซไลต์ (Chysolite) ก็หมายถึง โอลิวีน เช่นกัน แร่ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  1. ฟอสเตอไรต์ (Forsterite) Mg2SiO4
  2. โอลิวีน (Olivine) หรือ คริโซไลต์ (Chrysolite) (Mg, Fe) 2SiO4
  3. ฟายาไลต์ (Fayalite) Fe2SiO4

คลาส (Class) : ซิลิเกต (silicate)

สับคลาส (Subclass) :นีโซซิลิเกต (Nesosilicates)

กลุ่ม (Group) : โอลิวีน (Olivine)

คุณสมบัติทางกายภาพ

  • สี (Color) : สีเขียวมรกต,สีเขียวมะกอก (Olive green),สีเหลืองเขียวซีด สีเขียวน้ำตาล,สีดำ, สีแดง นอกจากนี้ยังพบพวกไม่มีสี ซึ่งพวกที่ไม่มีสีมักจะเป็นพวกฟอสเตอไรต (forsterite) บริสุทธิ์ ในขณะที่มีสีเขียวน้ำตาลถึงสีดำอาจเป็นพวกฟายาไลต์ (fayalite) ทั้งหมด
  • องค์ประกอบ (Composition) : เป็นพวกแมกนีเซียม-เหล็ก ซิลิเกต (Magnesium iron silicate) โดยมี Magnesium end memberคือฟอสเตอไรต forsterite (Magnesium silicate) และเป็น iron end member คือฟายาไลต fayalite (Iron silicate).ส่วนแร่สมาชิกที่อยู่ระหว่างทั้งสองตัวที่เป็นที่รู้จักคือ ( Intermediary member) คือคริโซไลต Chrysolite
  • ความวาว (Luster) : เป็นเหมือนแก้ว (vitreous)
  • ระบบผลึก (Crystal System) :เป็นออร์โทรอมบิก orthorhombic; 2 / m 2 / m 2 / m
  • ความโปร่งใส (Transparency) : มีความโปร่งใสถึงโปร่งแสง
  • สมบัติทางแสง (Optical properties) : ไบแอกเซล Biaxial (+)
  • แนวแตกเรียบ (Cleavage) : {010} ไม่ชัด
  • รอยแตกหัก (Fracture) : เป็นก้นหอย conchoidal
  • ค่าความแข็ง (Hardness) : 6.5-7
  • ความเหนียว (Tenacity) :เปราะ (Brittle)
  • ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) : สำหรับฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ~ 3.2
    สำหรับฟายาไลต์ fayalite ~ 4.3 (สูงกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับที่ไม่ใช่โลหะแร่ธาตุ)
  • สีผง (Streak) : สีขาว
  • การทดสอบ (Complex Test) : ละลายได้ใน กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
  • ค่าดัชนีหักเห (Refraction index) : nα = 1.630–1.650
    nβ = 1.650–1.670
    nγ = 1.670–1.690
  • ลักษณะอื่น ๆ (Other Characteristics) : มีการหักเหสองครั้ง (Double refraction)
  • แร่ธาตุที่เกิดร่วมกัน (Associated Minerals) : มีไดออปไซด์ (Diopside) , สปิเนล (Spinel) ,เฟลสปาร์ (Feldspars),แพคจิโอเคด (Plagioclase) ,โครไมต์ (Chromite) , ฮอร์นเบลนด์ (Hornblend) ,เซอร์เพนทีน (Serpentine), อุกกาบาตที่มีเหล็กนิกเกิล (Iron-nickle) และ ออร์ไจต์ (Augite)
  • ลักษณะเด่น และวิธีตรวจ: สังเกตจากความวาวที่คล้ายแก้ว รอยแตกเว้า สีเขียว และลักษณะของผลึกที่เกาะกลุ่มกันแน่น ใส่กรดเกลือแล้วอุ่นให้ร้อนจะละลานได้ง่าย เกิดลักษณะที่เป็นของซิลิกา
  • แหล่งอ้างอิง:

คุณสมบัติทางเคมี

สูตรเคมี (Mg, Fe) 2SiO4 มี MgO 42.06% , FeO 18.75% , SiO2 39.9%
ธาตุแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ โดยที่โครงสร้างของผลึกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าแมกนีเซียมและเหล็กมีคุณสมบัติในการแทนที่กันได้ ถ้าแมกนีเซียมไปแทนที่เหล็กจะได้สูตรเป็น Mg2SiO4 เรียกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) และถ้าเหล็กไปแทนที่แมกนีเซียมก็จะได้สูตรทางเคมีเป็น Fe2SiO4เรียกว่า ฟายาไลต์ (fayalite) โดยปกติแล้ว โอลิวีนจะมีธาตุแมกนีเซียมมากกว่าเหล็ก เนื่องจาก ฟายาไลต์ (fayalite) เป็นโอลิวีนที่ประกอลไปด้วยเหล็กมาก ทำให้ดัชนีหักเหมีค่าสูง , หนัก และมีสีเข้มมากกว่า ฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างของแร่ที่มีทั้งธาตุเหล็กและแมกนีเซียม

สภาพแวดล้อมที่พบ

หินอัคนีเมฟิก (Mafic igneous rocks) and หินอัลตราเมฟิก (Ultra mafic igneous rocks) และยังพบในหินแปร (Metamorphic rock) และ เซอร์แพนทีนไนต์ (Serpentinite) ที่ตกสะสมตัวเป็นแร่ตั้งต้น (Primary mineral)

การเกิด

โอลิวีนเป็นแร่ประกอบหินที่พบมากในหินอัคนีชนิดเมฟิก เช่น หินแกบโบร หินเพริโดไทต์ และหินบะซอลต์ หินดันไนต์ประกอบด้วยโอลิวีนอย่างเดียว พบเป็นแร่รองในหินแกรนิต หินแกนโนไดออไรต์ หินไซอีไนต์ และหินเนฟิลีนไซลีไนส์ บางทีก็พบเป็นเม็ดแก้วฝังในอุกกาบาต และอาจจะพบในหินปูนที่มีโดโลไมต์ปนอยู่ด้วย เกิดร่วมกับแร่ประกอบหินอื่นๆ เช่น ไพรอกซีน แคลซิแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ แมกนีไทต์ คอรันดัม โครไมต์ และเซอร์เพนทีน

การแยกแร่ที่คล้ายแร่โอลิวีน

  • 'ทัวร์มาลีน (Tourmaline) ' -- สภาพแวดล้อมและโครงสร้างผลึกที่แตกต่างกัน
  • 'อะพาไทต์ (Apatite) ' – อ่อนกว่า (Softer), มีพฤติกรรมของผลึก (Crystal habits) ที่แตกต่างกัน
  • 'โกเมน (Garnet) ' – เกิดขึ้นในผลึกที่แตกต่างกัน, ไม่มีแนวแตกเรียบ (Cleavage)


แหล่งที่พบ

ประโยชน์

โอลิวีน มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลาย ใช้เป็น ฟลักซ์ (Flux) สำหรับการผลิตเหล็กและยังเป็นที่สำคัญแร่ของโลหะแมกนีเซียม เป็นแร่ที่ให้ไทเทเนียมออกไซด์ ซึ่งใช้ในการทำสี ถ้าเป็นแร่ที่ใสและสีสวยใช้เป็นแร่รัตนชาติที่มีความวาวเด่นมาก เช่นเพอริดอต Peridot มีความโปร่งใส สี่เขียวมะกอกไปหลากหลาย มักมีสีเขียวสีเหลืองเป็นที่รู้จักกันดี เป็นที่นิยมมากในเครื่องประดับมากมาย, ใช้ในอุตสาหกรรมเช่น วัสดุทนไฟและขัดมัน

อ้างอิง

  1. Webmineral
  2. Mindat
  3. Klein, Cornelis (1985). Manual of Mineralogy (21rst ed.). New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-80580-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  5. แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)[ลิงก์เสีย]
  6. Mindat
  7. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  8. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  9. THE MINERAL OLIVINE
  10. wikipedia-olivine
  11. The Guide to Rocks and Minerals.
  12. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  13. THE MINERAL OLIVINE
  14. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  15. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  16. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  17. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  18. "Department of Mineral Resources". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.
  19. THE OLIVINE MINERAL SERIES
  20. "แร่โอลิวีน (Olivine, Chrystolite, Peridot)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-02-18.

แหล่งข้อมูลอื่น