อภิมหาอำนาจ

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน)
รัฐในปัจจุบันซึ่งมีการอ้างว่าเป็นหรือมีขีดความสามารถที่จะเป็นอภิมหาอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 21:
  สหรัฐอเมริกา (รัฐมหาอำนาจปัจจุบัน)

อภิมหาอำนาจ (อังกฤษ: superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ"

อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก

คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1944 โดยมีความหมายถึงสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิบริติช ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เมื่อจักรวรรดิบริติชกลายสภาพเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ และอาณานิคมทั้งหลายได้รับเอกราช สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตมักจะถูกพิจารณาว่าเป็นสองอภิมหาอำนาจ ซึ่งเผชิญหน้ากันและกันในสงครามเย็น

จนกระทั่งสงครามเย็นยุติ ส่วนใหญ่เชื่อกันว่ามีเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ยังคงเติมเต็มเงื่อนไขที่จะพิจารณาว่าเป็นอภิมหาอำนาจ ถึงแม้ว่าจะยังคงมีการโต้เถียงกันถึงความเป็นเจ้าหรือการล้อมอำนาจของโลกโดยสหรัฐอเมริกาก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย และรัสเซีย ยังได้ถูกพิจารณาว่ามีขีดความสามารถที่จะก้าวเป็นสถานะอภิมหาอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในขณะที่หลายฝ่ายยังคงสงสัยในการคงอยู่ของอภิมหาอำนาจในยุคหลังสงครามเย็น โดยอ้างถึงตลาดโลกอันซับซ้อนในปัจจุบัน และการเป็นเอกราชที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างชาติต่าง ๆ ทำให้แนวคิดของอภิมหาอำนาจกลายเป็นอดีต และโลกในตอนนี้กำลังดำเนินในลักษณะหลายขั้ว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Analyzing American Power in the Post-Cold War Era". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-02-28.
  2. Country profile: United States of America, BBC News, Accessed July 22, 2008
  3. "www.stanford.edu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  4. Unger J (2008), U.S. no longer superpower, now a besieged global power, scholars say เก็บถาวร 2008-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Illinois
  5. CNN 2008 interview with US Senators Carl Levin & John Cornyn (Russia a superpower) เก็บถาวร 2011-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. New York Times by Ronald Steel professor of international relations August 24, 2008 (Superpower Reborn)
  7. Waving Goodbye to Hegemony
  8. "The Multipolar World Vs. The Superpower". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2006-06-10.
  9. "The Multipolar Unilateralist". สืบค้นเมื่อ 2006-06-10.
  10. "No Longer the "Lone" Superpower". สืบค้นเมื่อ 2006-06-11.
  11. "The war that may end the age of superpower". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-06. สืบค้นเมื่อ 2006-06-11.