โอลิมปิกฤดูร้อน 2024

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 33
ตราสัญลักษณ์ของโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2024
เมืองเจ้าภาพฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส
คำขวัญเปิดเกมให้กว้าง
(ฝรั่งเศส: Ouvrons grand les Jeux)
นักกีฬาเข้าร่วม10,500 (ขีดจำกัดโควต้า)
ชนิด329 รายการ ใน 32 ชนิดกีฬา (48 ชนิดกีฬาย่อย)
พิธีเปิด26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
พิธีปิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ประธานพิธีเปิด
แอมานุแอล มาครง
(ประธานาธิบดีฝรั่งเศส)
สนามกีฬาช็องเดอมาร์ส, ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร และแม่น้ำแซน (พิธีเปิด)
สนามกีฬาแห่งฝรั่งเศส (พิธีปิด)
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2024

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 (ฝรั่งเศส: Les Jeux Olympiques D'été De 2024) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 (ฝรั่งเศส: Les Jeux de la XXXIIIe olympiade) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ปารีส 2024 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ควบคุมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งจัดในกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 131 ณ ลิมา ประเทศเปรู รวมถึงกรุงปารีสก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน

ปารีสเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ซึ่งในครั้งนี้ปารีสเป็นเมืองที่สองต่อจากลอนดอน ที่เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนถึง 3 ครั้ง นอกจากนี้เป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่จัดในปารีส และกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 ที่จัดในเมืองชามอนี ประเทศฝรั่งเศส

การคัดเลือกเจ้าภาพ

ปารีส, ลอสแอนเจลิส, บูดาเปสต์, โรม และ ฮัมบวร์ค เป็น 5 เมืองสุดท้ายที่ร่วมการคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 อย่างไรก็ตามมีหลายเมืองที่ได้ถอนตัว ด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง และค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่าที่แต่ละเมืองกำหนดไว้ ฮัมบวร์คเป็นเมืองแรกที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากการลงประชามติ โรมเป็นเมืองที่สองที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 หลังจากมีปัญหาทางด้านการเงิน บูดาเปสต์เป็นเมืองที่สามที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 หลังจากมีการยื่นคำร้องต่อศาลเป็นจำนวนมากในการให้ยกเลิกแผนจัดกีฬาโอลิมปิก

หลังจากปัญหาเรื่องการถอนตัวของเมืองต่าง ๆ คณะกรรมการบริหารของไอโอซี ได้ประชุมร่วมกัน ณ โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการคัดเลือกเจ้าภาพในปี 2024 และ 2028 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้เสนอทางเลือกในการคัดเลือกเจ้าภาพในปี 2024 และ 2028 อย่างเป็นทางการ ในเวลาเดียวกันข้อเสนอนี้ถูกอนุมัติในการประชุมวิสามัญของไอโอซี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ โลซาน ไอโอซีได้ตั้งกระบวนการคัดเลือกร่วมกับทางคณะกรรมการของลอสแอนเจลิส และปารีส ก่อนที่ประกาศผลอย่างเป็นทางการในการประชุมสามัญของไอโอซี สมัยที่ 131 ณ ลิมา ประเทศเปรู

หลังจากที่ได้ตัดสินใจที่จะให้สิทธ์การจัดโอลิมปิกให้แก่ทั้งสองเมือง ขณะเดียวกันปารีสหวังที่จะจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 โดยความหวังของปารีสเป็นจริง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ไอโอซีได้ประกาศว่าลอสแอนเจลิสเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวสำหรับในปี 2028 ทำให้ปารีสมีสิทธิ์จัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 การตัดสินใจของเมืองทั้งสองจะถูกยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมสามัญของไอโอซี สมัยที่ 131 ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

สรุปผลการคัดเลือก

ผลการคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 33 และ 34
เมือง ประเทศ ผลการคัดเลือก การรับรองจากไอโอซี
ปารีส  ฝรั่งเศส เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 เอกฉันท์
ลอสแอนเจลิส  สหรัฐ เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 34 เอกฉันท์
บูดาเปสต์  ฮังการี ถอนตัว
โรม  อิตาลี ถอนตัว
ฮัมบวร์ค  เยอรมนี ถอนตัว

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

สถานที่จัดการแข่งขัน

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่เมืองในปารีสและเขตเมืองใหญ่โดยรอบ รวมถึงเมืองใกล้เคียงอย่างแซ็ง-เดอนี เลอบูร์แฌ น็องแตร์ แวร์ซาย และแวร์-ซูร์-มาร์น การแข่งขันแฮนด์บอลจะจัดขึ้นที่ลีล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 225 กม. การแข่งขันเรือใบและฟุตบอลบางรายการจะจัดขึ้นที่มาร์แซย์ ในพื้นที่ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 777 กม. ในขณะเดียวกันการแข่งขันโต้คลื่นคาดว่าจะจัดขึ้นที่หมู่บ้านเตฮูโปโอ ในดินแดนโพ้นทะเลของเฟรนช์พอลินีเชีย ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 15,716 กม. ฟุตบอลจะจัดขึ้นในเมืองอื่นๆ อีก 5 เมือง ได้แก่ บอร์โด เดซีน-ชาร์ปีเยอ น็องต์ นิส และแซ็งเตเตียน ซึ่งบางแห่งเป็นที่ตั้งของสโมสรลีกเอิง

พื้นที่แกรนด์ปารีส

สตาดเดอฟร็องส์ พร้อมสนามกรีฑากลางแจ้งในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2003
ศูนย์กีฬาทางน้ำระหว่างการก่อสร้าง (ค.ศ. 2022)
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬาอีฟว์ ดูว์ มานัวร์ กีฬาฮอกกี้ 15,000 สถานที่ปรับปรุงใหม่
สตาดเดอฟร็องส์ รักบี้ 7 คน 77,083 มีอยู่แล้ว
กีฬากรีฑา (ลู่และลาน)
พิธีปิด
สนามกีฬาปารีลาเดฟ็องส์ กีฬาทางน้ำ (กีฬาว่ายน้ำ, กีฬาโปโลน้ำรอบชิงชนะเลิศ) 15,220
สนามกีฬาปอร์ตเดอลาชาแปล กีฬาแบดมินตัน 8,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
กีฬายิมนาสติก (ลีลา)
ศูนย์กีฬาทางน้ำปารีส ์กีฬาทางน้ำ (โปโลน้ำรแบแรก และเพลย์ออฟ กีฬากระโดดน้ำ กีฬาระบำใต้น้ำ) 5,000
สถานที่ปีนผาเลอบูร์แฌ กีฬาปีนหน้าผา 5,000 สถานที่ชั่วคราว
อารีนาปารีสนอร์ด มวยสากล (รอบแรก, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 6,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (ฟันดาบ)
หมายเหตุ
  1. คณะกรรมการจัดการแข่งขันท้องถิ่นใช้ชื่อที่ไม่ได้รับการสนับสนุน อารีนา 92 ซึ่งเป็นชื่อของสถานที่ในช่วงการวางแผนเบื้องต้น เมื่อถึงเวลาเปิดในปี ค.ศ. 2017 ชื่อได้เปลี่ยนเป็น ยูอารีนา (ชื่อไม่ได้รับการสนับสนุนเช่นกัน) และจากนั้นเป็นสนามกีฬาปารีลาเดฟ็องส์ ในปี ค.ศ. 2018 ผ่านข้อตกลงการสนับสนุน

พื้นที่ปารีสเซ็นเตอร์

ช็องเดอมาร์ส
กร็องปาแล
เลแซ็งวาลีด
สนามกีฬารอล็อง กาโรส
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
ปาร์กเดแพร็งส์ กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่มและรอบสุดท้าย) 48,583 สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬารอล็อง กาโรส เทนนิส 34,000
กีฬามวยสากล (รอบชิงชนะเลิศ)
สนามฟีลิป ชาทรีแย็ง (พร้อมหลังคาแบบพับเก็บได้) กีฬามวยสากล 15,000
กีฬาเทนนิส
สนามซูว์ซาน ล็องล็อง (พร้อมหลังคาแบบพับเก็บได้) กีฬาเทนนิส 10,000
สนามซีมง มาตีเยอ และสนามรอง 9,000 (5,000+2,000+8x250)
ปารีสเอ็กซ์โปปอร์ตเดอแวร์ซาย กีฬาวอลเลย์บอล 12,000
เทเบิลเทนนิส 6,000
กีฬาแฮนด์บอล (รอบแรก) 6,000
กีฬายกน้ำหนัก
สนามกีฬาแบร์ซิ กีฬายิมนาสติก (สากลและแทรมโพลีน) 15,000
กีฬาบาสเกตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
กร็องปาแล กีฬาฟันดาบ 8,000
กีฬาเทควันโด
ปลัสเดอลากงกอร์ด Basketball (3x3) 30,000 สถานที่ชั่วคราว
เบรกแดนซ์ซิ่ง
กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์ฟรีสไตล์)
สเกตบอร์ด
ปงดีเอนา Aquatics (ว่ายน้ำมาราธอน) 13,000
(นั่ง 3,000)
กีฬากรีฑา (มาราธอน, เดิน)
กีฬาจักรยาน (ประเภทถนน, ไทม์ไทรอัล)
กีฬาไตรกีฬา
สนามกีฬาหอไอเฟล กีฬาวอลเลย์บอลชายหาด 12,000
กร็องปาแลเอเฟแมร์ กีฬายูโด 8,000
กีฬามวยปล้ำ
เลแซ็งวาลีด กีฬายิงธนู 8,000

พื้นที่แวร์ซาย

เลอกอล์ฟนาซิอองนาล
เวลอดรอมเดอแซ็ง-ก็องแต็ง-อ็อง-อีฟว์ลีน
พระราชวังแวร์ซาย
ศูนย์การเดินเรือแวร์ตอร์ซิ
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สวนในพระราชวังแวร์ซาย กีฬาขี่ม้า 80,000
(22,000 + 58,000)
สถานที่ชั่วคราว
กีฬาปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (ยกเว้นรอบฟันดาบ)
เลอกอล์ฟนาซิอองนาล กีฬากอล์ฟ 35,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
เอล็องกูร์ ฮิลล์ กีฬาจักรยาน (จักรยานเสือภูเขา) 25,000
เวลอดรอมเดอแซ็ง-ก็องแต็ง-อ็อง-อีฟว์ลีน กีฬาจักรยาน (ประเภทลู่) 5,000
กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) 5,000

นอกเขตพื้นที่

มาร์แซย์
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬาปีแยร์ โมรัว (ลีล) บาสเกตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม) 26,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
กีฬาแฮนด์บอล (รอบชิงชนะเลิศ)
สนามกีฬาโอลิมปิกการเดินเรือแห่งชาติอีล-เดอ-ฟร็องส์ (แวร์-ซูร์-มาร์น) กีฬาเรือพาย 22,000
กีฬาเรือแคนู-คายัค (ปรินต์)
กีฬาเรือแคนู-คายัค (สลาลม)
สตาดเวลอดรอม (มาร์แซย์) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมหญิง และรอบรองชนะเลิศทีมชาย 1 นัด) 67,394
ปาร์กอแล็งปิกลียอแน (ลียง) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมชาย และรอบรองชนะเลิศทีมหญิง 1 นัด) 59,186
สตาดมัตมูว์ตัตล็องติก (บอร์โด) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมหญิง, รอบชิงเหรียญทองแดงทีมชาย) 42,115
สนามกีฬาฌอฟรัว กีชาร์ (แซ็งเตเตียน) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมชาย, รอบชิงเหรียญทองแดงทีมหญิ) 41,965
อลิอันซ์ริวีเอรา (นิส) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 35,624
สตาดเดอลาโบฌัวร์ (น็องต์) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 35,322
ท่าเรือเก่ามาร์เซย์ (มาร์แซย์) กีฬาเรือใบ 5,000
เตฮูโปโอ-แอ็สต์ (เฮติ) กีฬาโต้คลื่น 5,000
ศูนย์กีฬายิงปืนแห่งชาติ (ชาโตรู) กีฬายิงปืน 3,000

สถานที่ที่ไม่ใช่การแข่งขัน

สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
ช็องเดอมาร์ส, ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร และ แม่น้ำแซน พิธีเปิด 30,000
600,000
สถานที่ชั่วคราว
ลีล-แซ็ง-เดอนี หมู่บ้านโอลิมปิก 17,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
แลร์เดว็อง, ดูว์ญี หมู่บ้านสื่อมวลชน สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์นิทรรศการเลอบูร์แฌ ไอบีซี (อีเบเซ) 15,000 สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์การประชุมแห่งปารีส เอ็มพีซี (แอมเปเซ)

เหรียญรางวัล

โทนี เอสแตนเก็ต ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน เปิดเผยเหรียญรางวัลโอลิมปิกและพาราลิมปิก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ซึ่งด้านหน้าเหรียญรูปทรงหกเหลี่ยมฝังด้วยเศษเหล็กที่นำมาจากการก่อสร้างหอไอเฟลดั้งเดิม โดยมีตราสัญลักษณ์การแข่งขันสลักอยู่ เหรียญรางวัลประมาณ 5,084 เหรียญจะถูกผลิตโดยโรงกษาปณ์รัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับการออกแบบโดยโชเมต์ ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องประดับหรูหราที่ตั้งอยู่ในปารีส

ด้านหลังของเหรียญมีภาพของเทพไนกีซึ่งเป็นเทพีแห่งชัยชนะของกรีก อยู่ภายในสนามกีฬาพานาธิเนอิกซึ่งเคยถูกใช้ในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกในปี 1896 วิหารพาร์เธนอนและหอไอเฟลในพื้นหลังทั้งสองด้านของเหรียญอีกด้วย เหรียญแต่ละเหรียญมีน้ำหนัก 455–529 g (16–19 oz) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 85 mm (3.3 in) และหนา 9.2 mm (0.36 in) เหรียญทองทำด้วยเงินร้อยละ 98.8 และทองคำร้อยละ 1.13 ในขณะที่เหรียญทองแดงประกอบด้วยทองแดง สังกะสี และดีบุก

ความปลอดภัย

ฝรั่งเศสบรรลุข้อตกลงกับยูโรโพลและกระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักรเพื่อช่วยสนับสนุนด้านความปลอดภัยและ "อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการปฏิบัติงาน" และ "ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ" ในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ภายในข้อตกลง มีการวางแผนที่จะส่งโดรนและเครื่องกีดขวางทางทะเลเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เรือเล็กข้ามช่องแคบอังกฤษอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้กองทัพบกสหราชอาณาจักรยังจะจัดวางระบบขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศสตาร์สตรีคเพื่อความปลอดภัยทางอากาศอีกด้วย ตำรวจในปารีสได้ดำเนินการตรวจสอบและซ้อมภายในหน่วยกำจัดระเบิดก่อนการแข่งขัน คล้ายกับการเตรียมการสำหรับการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 2023 ที่สนามกีฬาสตาดเดอฟร็องส์

ในฐานะส่วนหนึ่งของการเยือนฝรั่งเศสของเชคตะมีม บิน ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อาล ษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ มีการลงนามข้อตกลงหลายฉบับระหว่างสองประเทศเพื่อเพิ่มความปลอดภัยสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในการเตรียมการสำหรับข้อเรียกร้องด้านความปลอดภัยที่สำคัญและมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย ประเทศโปแลนด์ได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนกองกำลังรักษาความปลอดภัย รวมถึงผู้ดูแลสุนัขดมกลิ่น เพื่อสนับสนุนความพยายามระหว่างประเทศที่มุ่งเป้าไปที่การรับรองความปลอดภัยของการแข่งขัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของกาตาร์และผู้บัญชาการเลควิยา ได้จัดการประชุมในวันที่ 3 เมษายน 2024 ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้นำด้านความปลอดภัย รวมถึงนาศิร อัลเคาะลัยฟี และเชค ญัสซิม บิน มานซูร์ อาล ธานานี เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความปลอดภัย

ข้อกังวลด้านความปลอดภัยส่งผลกระทบต่อการกำหนดแผนสำหรับพิธีเปิดที่จะจัดขึ้นเป็นกลางสาธารณะริมแม่น้ำแซน มีการคาดการณ์ผู้เข้าร่วมว่าจะลดลงครึ่งหนึ่งจากประมาณ 600,000 คนเป็น 300,000 คน แผนการสำหรับสถานที่ชมพีธีเปิดฟรีต้องมีคำเชิญเท่านั้น เมษายน 2024 หลังจากที่รัฐอิสลามออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีโครคุสซีตีฮอลล์ในเดือนมีนาคม และขู่หลายครั้งต่อยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบก่อนรองชนะเลิศ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง ระบุว่าพิธีเปิดสามารถลดขนาดหรือย้ายสถานที่ใหม่ได้หากจำเป็น

อาสาสมัคร

แพลตฟอร์มอาสาสมัครสำหรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่ปารีส 2024 เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าใช้งานในเดือนมีนาคม 2023 คาดว่าจะมีอาสาสมัคร 45,000 คนทั่วโลกเข้าร่วมมหกรรมนี้ หลังจากสิ้นสุดการลงทะเบียนในวันที่ 3 พฤษภาคม 2023 มีการส่งใบสมัครมากกว่า 300,000 ใบไปยังคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าผู้สมัครโอลิมปิกสองครั้งก่อนหน้า ผู้สมัครจะได้รับแจ้งผลการสมัครระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2023 ผู้สมัครมากกว่า 800 รายถูกคัดออกเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัย โดยในจำนวนนี้มี 15 รายที่ถูกขึ้นบัญชีฟีเช่อ แอส (Fiche S)

การวิ่งคบเพลิง

ผู้ถือคบเพลิงสองคนในการ์กาซอน

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกเริ่มต้นด้วยการจุดเพลิงโอลิมปิกเมื่อวันที่ 16 เมษายนที่โอลิมเปีย ประเทศกรีซ 100 วันก่อนเริ่มการแข่งขัน นักพายเรือชาวกรีก สเตฟานอส เอ็นตูกอส เป็นผู้ถือคบเพลิงคนแรก และนักว่ายน้ำ ลอเร มาโนดู ทำหน้าที่เป็นผู้ถือคบเพลิงชาวฝรั่งเศสคนแรก คนหลังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสี่กัปตันของการวิ่งคบเพลิง ร่วมกับนักว่ายน้ำ ฟลอรองต์ มาเนาดู (น้องชายของเธอ) นักพาราไตรกีฬา โมนา ฟรานซิส และนักพารากรีฑา ดิมิทรี ปาวาเด คาดว่าการวิ่งคบเพลิงจะมีผู้ถือคบเพลิง 10,000 คน และเยี่ยมชมชุมชนมากกว่า 400 แห่งใน 65 ดินแดนของฝรั่งเศส รวมถึงอีก 6 ดินแดนโพ้นทะเลฝรั่งเศสด้วย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม มีรายงานว่าส่วนหนึ่งของการวิ่งคบเพลิงในนิวแคลิโดเนียถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุความไม่สงบ

พิธีการ

พิธีเปิด

งานชมโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

พิธีเปิดมีกำหนดจะเริ่มในเวลา 19:30 น. (CEST, GMT+2) ของวันที่ 26 กรกฎาคม 2024 พิธีดังกล่าวมีกำหนดการไม่แน่นอน เนื่องจากพิธีจัดขึ้นนอกสนามกีฬาเป็นครั้งแรก โดยมีแผนสำหรับขบวนพาเหรดของแต่ละประเทศ ที่จะจัดขึ้นเป็นขบวนทางเรือไปตามแม่น้ำแซนจากปงต์เดาสเตอร์ลิทซ์ถึงปงต์ดีเอนา และพิธีการอย่างเป็นทางการที่จะจัดขึ้นที่ปาแลเดอชาโยในสนามกีฬาขนาดเล็กชั่วคราว เส้นทางขบวนพาเหรด 6 กิโลเมตร (3.7 ไมล์) จะมีการนำเสนอทางวัฒนธรรมและทิวทัศน์สถานที่สำคัญของปารีส พิธีการของโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิก 2024 จะกำกับโดยโทมัส จอลลี

คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ส่งเสริมพิธีนี้ว่าเป็น "พิธีเปิดที่น่าตื่นเต้นและเข้าถึงได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์โอลิมปิก" โดย โทนี เอสแตนเก็ต ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันระบุว่าสามารถเข้าร่วมพิธีเปิดได้ฟรี โดยคาดว่าจะสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากถึง 600,000 คน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างเป้าหมายโดยรวมของปารีส 2024 ให้เป็น "โอลิมปิกของผู้คน" จะมีผู้ชมที่ซื้อตั๋ว 100,000 คนสำหรับจุดชมวิวทางฝั่งตอนล่างของแม่น้ำแซน และผู้ชมประมาณ 200,000 คนสำหรับจุดชมฟรีบนฝั่งตอนบน (นอกเหนือจากที่มองเห็นได้จากสถานที่สาธารณะและอาคารอื่น ๆ) ในเดือนมีนาคม 2024 เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัย รัฐบาลฝรั่งเศสจึงออกคำสั่งให้เข้าถึงสถานที่ระดับสูงได้โดยการเชิญเท่านั้น และในเดือนเมษายน 2024 ประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง กล่าวว่าพิธีนี้สามารถลดขนาดลงหรือจัดขึ้นใน ตามธรรมเนียมที่สนามกีฬาสตาดเดอฟร็องส์หากจำเป็น

พิธีปิด

พิธีปิดมีกำหนดจะจัดขึ้นที่สตาดเดอฟร็องส์ในวันที่ 11 สิงหาคม 2024 การแสดงนี้จะใช้ชื่อว่า "Records" และกำหนดให้มีนักแสดงมากกว่าร้อยคน รวมถึงนักกายกรรม นักเต้น และศิลปินละครสัตว์ ทั้งหมดจะจัดขึ้นบนเวทีขนาด 2,800 ตารางเมตร

ในเดือนตุลาคม 2023 โปรดักชั่นของเบน วินสตัน และ Fulwell 73 ได้รับการว่าจ้างให้ผลิตการแสดงพีธีการส่งต่อการแข่งขันส่งมอบสู่โอลิมปิกฤดูร้อน 2028 ความยาว 15 นาที

การแข่งขัน

ชนิดกีฬา

โปรแกรมของโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 จะมีการแข่งขัน 329 เหรียญทองใน 32 ชนิดกีฬา รวมถึงกีฬาโอลิมปิกหลัก 28 ชนิดกีฬาที่มีการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 และ 2020 และกีฬาทางเลือก 4 ชนิดกีฬาที่เสนอโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กีฬาเบรกกิ้งจะเปิดตัวในโอลิมปิกในฐานะกีฬาเพิ่มเติม ส่วนกีฬาสเกตบอร์ด ปีนหน้าผา และโต้คลื่นนำกลับมาจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ได้มีการยกเลิก 4 เหรียญทองจากกีฬายกน้ำหนัก กีฬาเรือแคนู ประเภทสปรินท์ 2 เหรียญทองถูกแทนที่ด้วยประเภทสลาลอม 2 เหรียญทอง ทำให้ยอดรวมอยู่ที่ 16 เหรียญทอง ในกีฬาปีนหน้าผาครั้งก่อนเป็นประเภทผสม ครั้งนี้แบ่งเป็น ประเภทความเร็ว ประเภทมือเปล่า และประเภทความยาก แบ่งการแข่งขันแยกตามเพศ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สมาคมกีฬามวยสากลสหรัฐ ได้ประกาศการตัดสินใจคว่ำบาตรการแข่งขันมวยสากลชิงแชมป์โลก 2023 (จัดโดยสมาคมมวยสากลนานาชาติ) ซึ่งนักกีฬาชาวรัสเซียและเบลารุสเข้าแข่งขันกันได้โดยไม่มีข้อจำกัด และยังกล่าวหาว่าสมาคมมวยสากลนานาชาติพยายามล้มล้างแนวทางคุณสมบัติที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลอนุมัติสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ต่อมาได้มีสมาคมจากประเทศโปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สวีเดน และแคนาดา ร่วมการคว่ำบาตรกับสหรัฐ

โปรแกรมกีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024

กีฬาใหม่และกีฬาทางเลือก

ครั้งเมื่อปารีสเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการจัดการแข่งขันประกาศจะเจรจากับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และองค์กรอีสปอร์ตอาชีพ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำเสนอบรรจุลงในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2024ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ไอโอซี ยืนยันว่าจะไม่พิจารณาการแข่งขันอีสปอร์ตในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 134 เมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2562 ไอโอซี ได้อนุมัติเพิ่มเติมกีฬาเบรกกิ้ง (เบรกแดนซ์) เป็นกีฬาทางเลือกเสนอโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน พร้อมด้วยเพิ่มเติมกีฬาสเกตบอร์ด ปีนหน้าผา และโต้คลื่น ซึ่งเป็น 3 ชนิดกีฬาที่เปิดตัวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กำลังจะมีขึ้นในขณะนั้น

ปฏิทินการแข่งขัน

กำหนดการต่อไปนี้ถูกต้องตามการอัปเดตล่าสุด ตารางที่แน่นอนสามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าการแข่งขันจะสิ้นสุด

เวลาทั้งหมดเป็นเวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2)
OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบทั่วไป 1 เหรียญทอง CC พิธีปิด
กรกฎาคม / สิงหาคม กรกฎาคม สิงหาคม จำนวนเหรียญทอง
24
พ.
25
พฤ.
26
ศ.
27
ส.
28
อา.
29
จ.
30
อ.
31
พ.
1
พฤ.
2
ศ.
3
ส.
4
อา.
5
จ.
6
อ.
7
พ.
8
พฤ.
9
ศ.
10
ส.
11
อา.
พิธีการ OC CC
กีฬาทางน้ำ ระบำใต้น้ำ 1 1 2
กระโดดน้ำ 1 1 1 1 1 1 1 1 8
ว่ายน้ำมาราธอน 1 1 2
ว่ายน้ำ 4 3 5 3 5 4 3 4 4 35
โปโลน้ำ 1 1 2
ยิงธนู 1 1 1 1 1 5
กรีฑา 2 1 5 3 4 5 5 5 8 9 1 48
แบดมินตัน 1 1 1 2 5
บาสเกตบอล บาสเกตบอล 1 1 2
บาสเกตบอล 3×3 2 2
มวยสากลสมัครเล่น 1 2 2 4 4 13
เบรกกิ้ง 1 1 2
เรือแคนู สลาลอม 1 1 1 1 2 6
สปรินท์ 3 4 3 10
จักรยาน ประเภทถนน 2 1 1 4
ประเภทลู่ 1 1 2 2 2 1 3 12
บีเอ็มเอ็กซ์ 2 2 4
เสือภูเขา 1 1 2
ขี่ม้า
ศิลปะการควบคุมม้า 1 1 2
อีเวนติ้ง 2 2
กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง 1 1 2
ฟันดาบ 2 2 2 1 1 1 1 1 1 12
ฮอกกี้ 1 1 2
ฟุตบอล 1 1 2
กอล์ฟ 1 1 2
ยิมนาสติก สากล 1 1 1 1 3 3 4 14
ลีลา 1 1 2
แทรมโพลีน 2 2
แฮนด์บอล 1 1 2
ยูโด 2 2 2 2 2 2 2 1 15
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 1 1 2
เรือพาย 2 4 4 4 14
รักบี้ 7 คน 1 1 2
เรือใบ 2 2 2 2 2 10
ยิงปืน 1 2 2 2 1 1 1 2 1 2 15
สเกตบอร์ด 1 1 1 1 4
ปีนหน้าผา 1 1 1 1 4
โต้คลื่น 2 2
เทเบิลเทนนิส 1 1 1 1 1 5
เทควันโด 2 2 2 2 8
เทนนิส 1 2 2 5
ไตรกีฬา 1 1 1 3
วอลเลย์บอล ชายหาด 1 1 2
ในร่ม 1 1 2
ยกน้ำหนัก 2 2 2 3 1 10
มวยปล้ำ 3 3 3 3 3 3 18
รวมเหรียญทอง 14 13 18 12 19 18 23 27 20 18 15 21 25 34 39 13 329
รวมการสะสมจากวันก่อน 14 27 45 57 76 94 117 144 164 182 197 218 243 277 316 329
กรกฎาคม / สิงหาคม
24
พ.
25
พฤ.
26
ศ.
27
ส.
28
อา.
29
จ.
30
อ.
31
พ.
1
พฤ.
2
ศ.
3
ส.
4
อา.
5
จ.
6
อ.
7
พ.
8
พฤ.
9
ศ.
10
ส.
11
อา.
จำนวนเหรียญทอง
กรกฎาคม สิงหาคม


คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วม

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่มีนักกีฬาอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีผ่านการคัดเลือกสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วม

จำนวนนักกีฬาตามคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ

ข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 (2024 -07-11)

การตลาด

ตราสัญลักษณ์

สัญลักษณ์สำหรับโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2019 ที่สนามแกรนด์เร็กซ์ ได้รับแรงบันดาลใจจากอาร์ตเดโค โดยเป็นตัวแทนของมารียาน ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของชาติของประเทศฝรั่งเศส โดยมีเปลวไฟก่อตัวขึ้นในพื้นที่เชิงลบจากเส้นผมของนาง ตราสัญลักษณ์ยังมีลักษณะคล้ายเหรียญทอง โทนี เอสแตนเก็ต อธิบายว่าสัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของ "พลังและความมหัศจรรย์ของการแข่งขัน" และการแข่งขัน "เพื่อผู้คน" การใช้รูปผู้หญิงยังเป็นการแสดงความเคารพต่อโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 ที่ปารีส ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าร่วมได้ ตราสัญลักษณ์ได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบชาวฝรั่งเศส ซิลแวง โบเยอร์ ร่วมกับองค์กรออกแบบของประเทศฝรั่งเศส รอยัลทีส์

สัญลักษณ์ของโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 ถือเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่ใหญ่ที่สุดของปี 2019 โดยนิตยสารดีไซน์หลายฉบับ การสำรวจจากโอพีเนียนเวย์แสดงให้เห็นว่าชาวฝรั่งเศสร้อยละ 83 กล่าวว่าพวกเขาชอบสัญลักษณ์ใหม่ของปารีส 2024 การให้คะแนนความเห็นชอบอยู่ในระดับสูง โดยร้อยละ 82 ของผู้ตอบแบบสำรวจพบว่ามีความสวยงามและร้อยละ 78 พบว่ามีความคิดสร้างสรรค์ พบกับการเยาะเย้ยบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ใช้รายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่าโลโก้ "น่าจะเหมาะกับเว็บไซต์หาคู่หรือร้านทำผมมากกว่า"

นับเป็นครั้งแรกที่พาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยไม่มีความแตกต่างใด ๆ ซึ่งสะท้อนถึง "ความทะเยอทะยาน" ที่มีร่วมกันระหว่างทั้งสองรายการ

มาสคอต

โอลิมปิกฟรีจิส และพาราลิมปิกฟรีจิส

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2022 ฟรีจิส ได้รับการเปิดเผยเป็นมาสคอตของโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิก 2024 เป็นหมวกฟรีจีอุสแบบมีชีวิตคู่หนึ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพและเสรีภาพทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วมารียานสวมหมวกแบบฟรีจีอุส ซึ่งรวมถึงภาพวาดของเออแฌน เดอลาครัว จากเรื่อง เสรีภาพนำทางชาวประชา ด้วยมาสคอตทั้งสองมีคติประจำใจว่า "คนเดียวเราไปได้เร็วกว่า แต่ไปด้วยกันได้ไกลกว่า"

โปสเตอร์

โปสเตอร์โอลิมปิกสำหรับการแข่งขันเหล่านี้ถูกเปิดเผยเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2024 ออกแบบโดยอูโก กัตโตนี โปสเตอร์ใช้การออกแบบแบบบานพับภาพ (diptych) โดยครึ่งหนึ่งเป็นตัวแทนของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและอีกครึ่งหนึ่งเป็นตัวแทนของพาราลิมปิก นับเป็นครั้งแรกที่โปสเตอร์โอลิมปิกและโปสเตอร์พาราลิมปิกได้รับการออกแบบร่วมกัน โดยแต่ละโปสเตอร์สามารถสื่อสารแยกกันเป็นครึ่ง ๆ หรือจะรวมกันเป็นโปสเตอร์เดียวก็ได้ โปสเตอร์ใช้เวลา 2,000 ชั่วโมงในระยะเวลาหกเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์

อ้างอิง

  1. "New Paris 2024 slogan "Games wide open" welcomed by IOC President" (ภาษาอังกฤษ). International Paralympic Committee. 25 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022."Le nouveau slogan de Paris 2024 "Ouvrons grand les Jeux" accueilli favorablement par le président du CIO" (ภาษาฝรั่งเศส). International Paralympic Committee. 25 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022.
  2. "Gender equality and youth at the heart of the Paris 2024 Olympic Sports Programme". www.olympics.com/. International Olympic Committee. 7 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020. The 10,500-athlete quota set for Paris 2024, including new sports, will lead to an overall reduction in the number of athletes
  3. "Stade de France".
  4. Butler, Nick. "Exclusive: IOC vow to "further adjust" candidature process after Budapest 2024 withdrawal". Inside the Games.
  5. "Five world-class cities in strong competition for Olympic Games 2024 – IOC to contribute USD 1.7 billion to the local organising committee" (Press release). คณะกรรมการโอลิมปิกสากล.
  6. Rome 2024 Olympic bid collapses in acrimony
  7. "2024 Olympics: Budapest to drop bid to host Games". BBC.
  8. Mather, Victor. "Budapest Withdraws Bid to Host 2024 Summer Olympics".
  9. "Budapest to withdraw bid for 2024 Olympics, leaving L.A. and Paris as only contenders". Los Angeles Times.
  10. "Meeting of the IOC Executive Board in Lausanne – Information for the media". Olympic.org. 19 May 2017.
  11. "IOC Executive Board approve joint awarding plans for 2024 and 2028 Olympics". Inside the Games.
  12. "Bach Says Paris and LA Mayors Are 'Optimistic' About Agreement After Initial Discussions - GamesBids.com". gamesbids.com.
  13. "Paris set to host 2024 Olympics, Los Angeles to be awarded 2028 Games by IOC". ABC News.
  14. "Paris 2024 Competition Venue Concept Map". Paris 2024 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-03-18.
  15. "Paris 2024 Les Sites des Compètition". Paris 2024 (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-03-18.
  16. à 17h48, Par Le ParisienLe 29 avril 2020; À 19h28, Modifié Le 29 Avril 2020 (29 April 2020). "JO de Paris 2024 : voici à quoi ressemblera le futur centre aquatique de Saint-Denis". leparisien.fr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
  17. Levy, Theo (29 August 2022). "The Aquatics Centre : an Olympic Class Complex for the People of Seine Saint Denis". Paris 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2022. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
  18. "Roland-Garros 2024: A retractable roof on Court Suzanne-Lenglen - Roland-Garros - The 2021 Roland-Garros Tournament official site". www.rolandgarros.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021.
  19. "Paris 2024: Eiffel Tower metal in Olympics and Paralympics medals". BBC Sport. 8 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  20. Theissen, Marion (8 February 2024). "Paris 2024: the Olympic and Paralympic medals have been revealed". Olympics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  21. "Paris Olympic and Paralympic medals will contain chunks of Eiffel Tower". The Guardian. Reuters. 8 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  22. "Paris 2024: First look at Olympic and Paralympic medals featuring chunks of Eiffel Tower". Sky News. 8 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  23. "Paris 2024 unveils Paralympic and Olympic Games medals". Paralympics. 8 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  24. "Olympics 2024 security topped up". Europol. 31 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  25. Syal, Rajeev (30 January 2024). "British police and security services to help protect Paris Olympics". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 9 February 2024.
  26. "Starstreak manufacturer Thales sees weapons production double due to Ukraine". Forces News. 25 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
  27. "Paris police expect 2024 Olympics to be 'considerable challenge' for bomb disposal squad". France 24. 5 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2024. สืบค้นเมื่อ 9 February 2024.
  28. "France and Qatar". France Diplomacy - Ministry for Europe and Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2023. สืบค้นเมื่อ 5 March 2024.
  29. "Poland to send troops to Paris Olympics amid security challenge". Reuters. 28 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2024. สืบค้นเมื่อ 29 March 2024.
  30. "France seeks help from allies to bolster security during Paris Olympics". France 24. 28 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2024. สืบค้นเมื่อ 29 March 2024.
  31. "Qatar's Interior Minister chairs meeting with officials ahead of Paris Olympics". Doha News. 4 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2024. สืบค้นเมื่อ 4 April 2024.
  32. 32.0 32.1 32.2 "Macron says Paris Olympics opening ceremony could be moved". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  33. 33.0 33.1 "Paris Olympics opening ceremony on the Seine could move for security reasons, says Macron". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 15 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  34. "France has a 'Plan B' for the Paris 2024 opening ceremony". Inside the Games. 3 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
  35. "Paris 2024 Volunteer Programme: Timeline and application process revealed". Olympics. 18 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2022. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  36. Berkeley, Geoff (5 May 2023). "Over 300,000 applications for 45,000 volunteer places at Paris 2024". Inside The Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2023. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  37. Matthews, Lyndsey (14 April 2023). "Here's How You Can Attend the Paris Olympics for Free". AFAR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2023. สืบค้นเมื่อ 10 February 2024.
  38. "800 excluded from Paris Olympics over security fears: Interior ministry". RFI. 1 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2024. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  39. "100 days before the Games: France prepares to welcome the Olympic Flame of Paris 2024". paris2024.com (Press release). 16 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  40. Picazo, Raul Daffunchio (15 April 2024). "Olympic flame to be lit in Ancient Olympia this Tuesday". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  41. "Laure Manaudou, first French torchbearer at Olympia". paris2024.com (Press release). 15 April 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  42. Salguero, David Rubio (16 April 2024). "Laure Manaudou, the first French torchbearer in Olympia". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2024. สืบค้นเมื่อ 16 April 2024.
  43. "New Caledonia removed from Olympic torch's route following unrest". Le Monde. 18 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2024. สืบค้นเมื่อ 20 May 2024.
  44. Daffunchio Picazo, Raúl (9 March 2024). "Paris 2024: Opening Ceremony to start at 19:30". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2024. สืบค้นเมื่อ 9 March 2024.
  45. 45.0 45.1 Ingle, Sean (13 December 2021). "Paris 2024 Olympic organisers reveal audacious plans for opening ceremony". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 14 December 2021.
  46. 46.0 46.1 "Paris to hold 'most accessible' opening ceremony of 2024 Olympics on River Seine". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 13 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2022. สืบค้นเมื่อ 14 December 2021.
  47. "Tears and fears for the man planning Paris Olympics show". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 26 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2024. สืบค้นเมื่อ 27 January 2024.
  48. Pavitt, Michael (21 September 2022). "Paris 2024 names artistic director for Opening Ceremony on River Seine". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  49. 49.0 49.1 "French stage director Thomas Jolly and filmmaker Michel Hazanavicius to direct opening and closing ceremonies for 2024 Paris Olympics" (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 21 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2023. สืบค้นเมื่อ 25 January 2023 – โดยทาง ESPN.
  50. "France halves crowd numbers for Olympics opening ceremony on River Seine". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 31 January 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2024. สืบค้นเมื่อ 1 February 2024.
  51. Pavitt, Michael (13 December 2021). "Paris 2024 confirms Seine will serve as venue for city-centre Olympic Opening Ceremony". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2021. สืบค้นเมื่อ 14 December 2021.
  52. Muñana, Gustavo (15 April 2024). "Macron: Stade de France could host Olympic opening ceremony if security is threatened". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2024. สืบค้นเมื่อ 15 April 2024.
  53. May, Sam (5 July 2024). "Paris 2024: Closing ceremony of Olympics revealed". Inside the Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  54. "Producer Ben Winston Talks Grammys, 'Kardashians' Future and Ellen DeGeneres Special". The Hollywood Reporter. 15 June 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2024. สืบค้นเมื่อ 15 June 2024.
  55. "No Changes in Core Olympic Sports for Paris 2024". Around the Rings. 15 September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2023.
  56. "Olympic Games: Breakdancing takes step closer to Paris 2024 inclusion". BBC Sport. 25 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2022. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019.
  57. Diamond, James (19 July 2018). "Two phase selection process confirmed for new Paris 2024 sports but esports will not be considered". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  58. 58.0 58.1 "Gender equality and youth at the heart of the Paris 2024 Olympic Sports program". International Olympic Committee. 7 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
  59. "Paris 2024 Event program" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 December 2020.
  60. Berkeley, Geoff (21 February 2023). "USA Boxing accuses IBA of trying to "sabotage" Olympic qualifiers". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2024.
  61. "Paris Olympic bid committee is open to esports on 2024 Olympic program". ESPN. Associated Press. 8 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2017. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
  62. Morris, Chris (9 August 2017). "Video Games May Be a Part of the 2024 Olympics". Fortune (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2023.
  63. 63.0 63.1 Diamond, James (19 July 2018). "Two phase selection process confirmed for new Paris 2024 sports but esports will not be considered". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  64. "Olympic Games: Paris organisers propose breakdancing to IOC as a new sport for 2024". BBC Sport. 21 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
  65. "Olympic Games: Breakdancing takes step closer to Paris 2024 inclusion". BBC Sport. 25 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2022. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019.
  66. "OLYMPIC SCHEDULE". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  67. Rabago, Mark. "Chamorro-Samoan sprinter Filomenaleonisa Iakopo to fly American Samoa flag at Paris Olympics". RNZ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 July 2024.
  68. Williams, Eliza (4 December 2019). "Trends of 2019: Branding". Creative Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  69. Wharton, David (24 October 2019). "Is it an Olympic logo? Or a coquettish scamp?". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2023. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
  70. 70.0 70.1 "Olympic flame or dating ad? Paris 2024 logo divides opinion". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2023. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
  71. 71.0 71.1 "Trends of 2019: Branding and logos". Creative Review. 3 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  72. "How Paris 2024 unveiled its new logo?". en24.news. 21 October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  73. Lepeltier, Nicolas (21 October 2019). "Paris 2024 : le logo des Jeux Olympique's dévoilé" [Paris 2024: Olympic Games logo unveiled]. Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2023. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  74. "Trends of 2019: Branding and logos". Creative Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  75. Wong, Henry (6 December 2019). "The 10 biggest rebrands and logo designs of 2019". Design Week (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2023. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  76. "83% of French People Approve of New Paris 2024 Games Emblem". Paris 2024 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2021.
  77. Rowbottom, Mike (21 October 2019). "Paris 2024 unveil new shared Olympic and Paralympic Games emblem". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.
  78. "Avec ses produits dérivés, Paris 2024 veut faire sauter la banque" [With its derivatives, Paris 2024 wants to break the bank]. francsjeux.com (ภาษาฝรั่งเศส). 29 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2024.
  79. "Paris 2024 - The Mascots". Paris 2024 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  80. "Phrygian cap symbolising French republic chosen as 2024 Paris Olympics mascot". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 14 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2023. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  81. Rowbottom, Mike (14 November 2022). "Paris 2024 mascots revealed as Phrygian caps - cute ideals of liberty to power a sporting revolution". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2022. สืบค้นเมื่อ 14 November 2022.
  82. Belam, Martin (14 November 2022). "Meet the Phryges: Paris 2024 Olympic and Paralympic mascots unveiled". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2022. สืบค้นเมื่อ 28 July 2023.
  83. "Paris 2024 Iconic Posters". Paris 2024 (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2024. สืบค้นเมื่อ 6 March 2024.
  84. Muñana, Gustavo (5 March 2024). "'Surrealist' diptych poster for Paris 2024 Olympics". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2024. สืบค้นเมื่อ 7 March 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2020
(โตเกียว ญี่ปุ่น)

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2028
(ลอสแอนเจลิส สหรัฐ)