เสาตรายานุส

เสาตรายานุส
เสาตรายานุส มองทางเหนือจากสภาโรมัน
เสาตรายานุสตั้งอยู่ในโรม
เสาตรายานุส
เสาตรายานุส
แสดงที่ตั้งภายในโรม
แผนที่
ที่ตั้งสภาตรายานุส
พิกัด41°53′45″N 12°29′3″E / 41.89583°N 12.48417°E / 41.89583; 12.48417
ประเภทอนุสาวรีย์ชัยโรมัน
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรพรรดิตรายานุส
สร้างค.ศ. 107~113

เสาตรายานุส (อังกฤษ: Trajan's Column; อิตาลี: Colonna Traiana; ละติน: Columna Traiani) เป็นอนุสาวรีย์ชัยโรมันที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิตรายานุสแห่งจักรวรรดิโรมันและอาจจะก่อสร้างภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัส (Apollodorus of Damascus) ตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน เสาตั้งอยู่ที่จัตุรัสตรายานุสไม่ไกลจากเนินคิรินาลทางด้านเหนือของจตุรัสโรมัน เสาตรายานุสสร้างเสร็จใน ค.ศ. 113 เป็นเสาอิสระที่มีชื่อเสียงตรงที่มีภาพสลักนูนเป็นเกลียวรอบเสาที่เป็นการสรรเสริญชัยชนะของตรายานุสในสงครามตรายานุสเดเซียน (Trajan's Dacian Wars) และเป็นอนุสาวรีย์ชัยที่มีอิทธิพลในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยอื่น ๆ ต่อมาตั้งแต่ในสมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่

เสาตรายานุสสูงราว 30 เมตร (98 ฟุต) หรือ 35 เมตร (115 ฟุต) ถ้ารวมฐานขนาดใหญ่ ตัวเสาเป็นปล้องหินอ่อน 20 ปล้องจากหินอ่อนคาร์รารา แต่ละปล้องหนักราว 32 ตัน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 เมตร (12.1 ฟุต) รูปสลักนูนเวียนรอบเสายาว 190 เมตร (620 ฟุต) วนรอบเสา 23 รอบ ภายในเสาเป็นช่องกลวงที่มีบันไดวน 185 ขั้นที่มีฐานชมทิวทัศน์อยู่ข้างบน ส่วนยอดของเสาตรายานุสมีน้ำหนัก 53.3 ตัน และต้องยกให้สูงประมาณ 34 เมตร (112 ฟุต)

บนเหรียญโบราณแสดงภาพประติมากรรมรูปนกอยู่บนยอด ซึ่งอาจจะเป็นเหยี่ยว หลังสร้างเสร็จ มีการตั้งอนุสาวรีย์จักรพรรดิตรายานุสไว้ตรงนี้ แต่หายไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1587 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 ได้สั่งให้ตั้งรูปสัมริดของนักบุญปีเตอร์บนนั้น ซึ่งยังคงตั้งอยู่จนปัจจุบันนี้

เดิมที เสาตรายานุสเคยตั้งขนาบข้างหอสมุดอุลเปียนสองบริเวณคือห้องกรีกและห้องละตินที่หันหน้าเข้าหากัน และมีผนังเรียงรายไปด้วยช่องและตู้หนังสือไม้สำหรับใส่ม้วนหนังสือ ห้องละตินน่าจะมี Dacica อรรถกถาเกี่ยวกับสงครามโรมัน-ดาเกียของจักรพรรดิตรายานุส ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับว่าตั้งใจที่จะสะท้อนผ่านการออกแบบด้วยการสลักเรื่องราวแบบหมุนวนที่เสาตรายานุส

จารึก

แผ่นจารึกเหนือทางเข้า (ภาพส่วนบน)

ข้อความจารึกที่ฐานเสามีรายละเอียดดังนี้:

SENATVS·POPVLVS·QVE·ROMANVS

IMP·CAESARI·DIVI·NERVAE·F·NERVAE TRAIANO·AVG·GERM·DACICO·PONTIF MAXIMO·TRIB·POT·XVII·IMP·VI·COS·VI·P·P AD·DECLARANDVM·QVANTAE·ALTITVDINIS

MONS·ET·LOCVS·TANT<IS·OPER>IBVS·SIT·EGESTVS

ภาพ

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ในสมัยโบราณ หินอ่อนคาร์รารามีชื่อเรียกว่า หินอ่อนลูนา ตามท่าเรือลูนา อิทรูเรีย ที่มีการนำเข้าหินที่ผ่านการตัดที่เทือกเขาคาร์ราราจากท่าเรือลูนี

อ้างอิง

  1. Diana E. E. Kleiner. The Ascent of Augustus and Access to Italian Marble (Multimedia presentation). Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-22.
  2. Jones 1993, p. 32
  3. Lancaster 1999, pp. 426–428
  4. Platner 1929
  5. Paoletti & Radke 2005, p. 541
  6. McGeough, Kevin M. (2004). The Romans: New Perspectives (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-583-4.
  7. Yegül, Fikret; Favro, Diane (2019-09-05). Roman Architecture and Urbanism: From the Origins to Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 341. ISBN 978-0-521-47071-1.
  8. Sear, Frank (2002-01-04). Roman Architecture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-134-63578-8.
  9. Marasco, Gabriele (2011-09-23). Political Autobiographies and Memoirs in Antiquity: A Brill Companion (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 368. ISBN 978-90-04-18299-8.
  10. CIL VI.960

ข้อมูล

  • Beckmann, Martin (2002), "The 'Columnae Coc(h)lides' of Trajan and Marcus Aurelius", Phoenix, 56 (3/4): 348–357, doi:10.2307/1192605, JSTOR 1192605
  • Bennett, Julian (1997), Trajan. Optimus Princeps, Routledge, ISBN 978-0-415-16524-2
  • Cichorius, Conrad (1896), Die Reliefs der Traianssäule. Erster Tafelband: "Die Reliefs des Ersten Dakischen Krieges", Tafeln 1–57, Berlin: Verlag von Georg Reimer
  • Cichorius, Conrad (1900), Die Reliefs der Traianssäule. Zweiter Tafelband: "Die Reliefs des Zweiten Dakischen Krieges", Tafeln 58–113, Berlin: Verlag von Georg Reimer
  • Davies, Penelope J. E. (1997), "The Politics of Perpetuation: Trajan's Column and the Art of Commemoration", American Journal of Archaeology, Archaeological Institute of America, 101 (1): 41–65, doi:10.2307/506249, JSTOR 506249, S2CID 155391228
  • Förtsch, Reinhard (2007), Die Trajanssäule, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-16, สืบค้นเมื่อ 2009-09-30
  • Jones, Mark Wilson (1993), "One Hundred Feet and a Spiral Stair: The Problem of Designing Trajan's Column", Journal of Roman Archaeology, 6: 23–38, doi:10.1017/S1047759400011454
  • Jones, Mark Wilson (2000), Principles of Roman Architecture, Yale University Press, ISBN 0-300-08138-3
  • Lancaster, Lynne (1999), "Building Trajan's Column", American Journal of Archaeology, Archaeological Institute of America, 103 (3): 419–439, doi:10.2307/506969, JSTOR 506969, S2CID 192986322
  • Lepper, Frank; Frere, Sheppard (1988), Trajan's Column. A New Edition of the Cichorius Plates. Introduction, Commentary and Notes, Gloucester: Alan Sutton Publishing, ISBN 0-86299-467-5
  • Paoletti, John T.; Radke, Gary M. (2005), Art in Renaissance Italy (3rd ed.), Laurence King Publishing, ISBN 978-1-85669-439-1
  • Platner, Samuel Ball (1929), A Topographical Dictionary of Ancient Rome, LacusCurtius, สืบค้นเมื่อ 2009-03-06
  • Rossi, Lino (1971), Trajan's Column and the Dacian Wars, Cornell University Press, ISBN 0-801-40594-7

อ่านเพิ่ม

  • Claridge, Amanda (1993), "Hadrian's Column of Trajan", Journal of Roman Archaeology, 6: 5–22, doi:10.1017/S1047759400011442
  • Hamberg, Per Gustaf (1945), Studies in Roman Imperial Art: with special reference to the State Reliefs of the Second Century, Almqvist & Wiksell, Uppsala

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เสาตรายานุส