เสียงพยัญชนะนาสิก

เสียงพยัญชนะนาสิก เป็นเสียงพยัญชนะที่เกิดจากการหย่อนเพดานอ่อนในปาก แล้วปล่อยอากาศอย่างอิสระออกทางจมูก อวัยวะในช่องปากรูปแบบต่าง ๆ ทำหน้าที่สั่นพ้องเสียงให้ก้อง แต่อากาศจะไม่ออกมาทางช่องปากเพราะถูกกักด้วยริมฝีปากหรือลิ้น นอกจากนี้ยังมีเสียงพยัญชนะอื่นที่ออกเสียงขึ้นจมูก (nasalized) ซึ่งพบได้ยาก

คำอธิบาย

โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่มซอนอรันต์ (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่ภาษาไอซ์แลนด์กับภาษาเวลส์ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่มอ็อบสตรูอันต์ (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็นเสียงพยัญชนะกัก เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 เฮิรตซ์

เสียงไม่ก้อง เสียงก้อง
คำอธิบาย IPA SAMPA เสียงไทย คำอธิบาย IPA SAMPA เสียงไทย
เสียงนาสิก ริมฝีปาก ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก ริมฝีปาก ก้อง
เสียงนาสิก ริมฝีปาก-ฟัน ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก ริมฝีปาก-ฟัน ก้อง
เสียงนาสิก ฟัน ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก ฟัน ก้อง
เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง 1 หรือ เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก ก้อง 1
เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ก้อง ()
เสียงนาสิก เพดานแข็ง ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก เพดานแข็ง ก้อง ()
เสียงนาสิก เพดานอ่อน ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก เพดานอ่อน ก้อง
เสียงนาสิก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง หรือ เสียงนาสิก ลิ้นไก่ ก้อง
  1. ^ สัญลักษณ์ โดยปกติก็ใช้แทนเสียงนาสิกฐานฟันด้วยเช่นกัน (มากกว่าที่จะเป็น ) ในภาษาที่ออกเสียงไม่แตกต่างจากเสียงนาสิกฐานปุ่มเหงือก

เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ก้อง เป็นเสียงปกติในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

เสียงนาสิก เพดานแข็ง ก้อง เป็นเสียงปกติในภาษาแถบยุโรป เช่น ภาษาสเปน ñ, ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอิตาลี gn, ภาษากาตาลา ภาษาฮังการี และภาษาลูกันดา ny, ภาษาเช็กและภาษาสโลวัก ň, ภาษาโปแลนด์ ń, ภาษาอุตซิตาและภาษาโปรตุเกส nh, ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย และภาษามอนเตเนโกร nj เป็นต้น

เสียงนาสิก เพดานอ่อน ก้อง มักเขียนแทนด้วยอักษรละติน ng

ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีนกลาง ฯลฯ ล้วนมีเสียง , และ แต่บางภาษาก็มีมากกว่านั้น เช่นภาษาทมิฬมีอักษรแต่ละตัวแทนเสียง , , , , และ ได้แก่ ம, ந, ன, ண, ஞ และ ங ตามลำดับ

ภาษากาตาลา ภาษาอุตซิตา ภาษาสเปน และภาษาอิตาลีมีเสียง , , เป็นหน่วยเสียง (phoneme) และมี , เป็นเสียงแปร (allophone) (สำเนียงภาษาสเปนในอเมริกาบางสำเนียง ไม่มีเสียงนาสิกฐานเพดานแข็ง มีแต่เพียงเสียงนาสิกที่ลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็ง (palatalized nasal) นย เหมือนในคำอังกฤษ canyon)

คำว่า เสียงหยุดนาสิก มักจะถูกย่อเหลือเพียงแค่ เสียงนาสิก อย่างไรก็ตามก็มีเสียงนาสิกอื่น ๆ เช่น เสียงเสียดแทรกนาสิก เสียงสะบัดลิ้นนาสิก และเสียงสระนาสิก เช่นในภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ภาษากาตาลา (บางสำเนียง) ภาษาโยรูบา ภาษากเบ ภาษาโปแลนด์ และภาษาสโลวีเนียสำเนียงลูบลิยานา ในสัญลักษณ์สัทอักษรสากล เสียงสระนาสิกแสดงด้วยเครื่องหมายทิลเดอ (~) ไว้เหนือสระ เช่น คำฝรั่งเศส sang ออกเสียงคล้าย ซอง แต่ไม่ใช่เสียงสะกด

ภาษาที่ไม่มีเสียงนาสิก

ภาษาเพียงส่วนน้อยประมาณ 2.3% ของโลก ไม่มีเสียงพยัญชนะนาสิก Ferguson จึงตั้งข้อสังเกตว่าทุกภาษาจะต้องมีเสียงพยัญชนะนาสิกเป็นหลักอย่างน้อยหนึ่งเสียง เมื่อมีภาษาใดภาษาหนึ่งถูกจัดว่าไม่มีเสียงพยัญชนะนาสิกแล้ว เสียงนาสิกที่เกิดขึ้นจะถือว่าเป็นเสียงแปร คือไม่ใช่รูปแบบทางทฤษฎีที่จะยอมรับได้ว่าเสียงนาสิกเป็นเสียงพื้นฐานของภาษานั้น

อ้างอิง

  1. Maddieson, Ian. 2008. Absence of Common Consonants. In: Haspelmath, Martin & Dryer, Matthew S. & Gil, David & Comrie, Bernard (eds.) The World Atlas of Language Structures Online. Munich: Max Planck Digital Library, chapter 18. Available online at http://wals.info/feature/18. Accessed on 2008-09-15.
  2. Ferguson (1963) 'Assumptions about nasals', in Greenberg (ed.) Universals of Language, pp 50-60.
  • Ladefoged, Peter (1996). The Sounds of the World's Languages. Oxford: Blackwell. ISBN 0-631-19814-8. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Saout, J. le (1973) 'Languages sans consonnes nasales', Annales de l Université d'Abidjan, H, 6, 1, 179-205.
  • Williamson, Kay (1989) 'Niger-Congo overview', in Bendor-Samuel & Hartell (eds.) The Niger-Congo Languages, 3-45.