ทรอย

นครทรอย
Ἴλιος
𒌷𒃾𒇻𒊭 Wiluša
ทรอยตั้งอยู่ในภูมิภาคมาร์มารา
ทรอย
แสดงที่ตั้งภายในภูมิภาคมาร์มารา
ทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
ทรอย
ทรอย (ประเทศตุรกี)
ที่ตั้งฮีซาร์ลึก จังหวัดชานักคาแล ประเทศตุรกี
ภูมิภาคTroad
พิกัด39°57′27″N 26°14′20″E / 39.95750°N 26.23889°E / 39.95750; 26.23889
ส่วนหนึ่งของHistorical National Park of Troia
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
เว็บไซต์https://whc.unesco.org/en/list/849/
ประเภทวัฒนธรรม
ขึ้นเมื่อ1998 (ครั้งที่ 22)
เลขอ้างอิง849
UNESCO Regionยุโรปและอเมริกาเหนือ

ทรอย (อังกฤษ: Troy; ตุรกี: Troya; กรีก: Τροία; ฮิตไทต์: 𒋫𒊒𒄿𒊭 Truwiša/Taruiša) หรือ อีเลียน (กรีก: Ίλιον, ฮิตไทต์: 𒌷𒃾𒇻𒊭 Wiluša) เป็นนครสมัยโบราณที่ตั้งอยู่ในฮีซาร์ลึก ประเทศตุรกี โดยเป็นที่รู้จักจากการเป็นฉากในสงครามโทรจันในตำนานกรีก แหล่งโบราณคดีเปิดต่อสาธารณชนในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว และได้รับการบรรจุเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1998

ทรอยถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งในช่วงที่มีการครอบครอง 4000 ปี ทำให้พื้นที่นี้แบ่งออกเป็นชั้นทางโบราณคดี 9 ชั้น แต่ละชั้นคือนครที่สร้างบนซากของนครยุคก่อนหน้า นักโบราณคดีเรียกชั้นเหล่านี้ด้วยตัวเลขโรมัน โดยทรอย 1 (Troy I) มีอายุเก่าสุด ส่วนทรอย 9 (Troy IX) มีอายุใหม่สุด

มีผู้เข้าตั้งถิ่นฐานในทรอยครั้งแรกประมาณ 3600 ปีก่อน ค.ศ. และเติบโตเป็นนครป้อมปราการขนาดเล็กประมาณ 3000 ปีก่อน ค.ศ. (ทรอย 1) ในบรรดาชั้นเก่า ๆ ทรอย 2 มีชื่อเสียงในด้านความมั่งคั่งและสถาปัตยกรรมอันโอ่อ่า ในช่วงยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย ทรอยได้รับการเรียกขานเป็นวีลูซาและเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฮิตไทต์ ชั้นสุดท้าย (ทรอย 8-9) เป็นนครสมัยกรีกและโรมันที่ทำหน้าที่สถานที่ท่องเที่ยวและศูนย์กลางทางศาสนา เนื่องจากความเกี่ยวโยงกับตำนาน

ไฮน์ริช ชลีมันน์กับแฟรงก์ แคลเวิร์ตเริ่มต้นการขุดค้นแหล่งโบราณคดีนี้ใน ค.ศ. 1871 ทั้งสองพบส่วนหลงเหลือของที่อยู่อาศัยยุคแรกจำนวนมาใต้ซากนครสมัยคลาสสิก บางชั้นมีลักษณะคล้ายทรอยในวรรณกรรม ทำให้นักวิชาการบางคนสรุปว่ามีความจริงส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้ตำนาน การขุดค้นในระยะหลังโดยผู้อื่นเพิ่มความเข้าใจสมัยใหม่ในพื้นที่นี้ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างตำนานและความเป็นจริงยังไม่เป็นที่กระจ่าง และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับการโจมตีนครของชาวกรีก(ppxiv, 180–812)

ชื่อ

ในภาษากรีกโบราณ นครนี้ได้รับการเรียกขานเป็นทั้ง Troia (Τροία) และ Ilion (Ἴλιον) หรือ Ilios (Ἴλιος) หลักฐานทางMetricalจากอีเลียดและโอดิสซีย์เสนอแนะว่าชื่อหลังเคยออกเสียงเป็น Wilios ชื่อเหล่านี้น่าจะสืบได้ถึงยุคสัมฤทธิ์ ตามบันทึกของชาวฮิตไทต์ที่เนียกนครในอานาโตเลียตะวันตกเฉียงเหนือว่า 𒌷𒃾𒇻𒊭 Wilusa หรือ 𒋫𒊒𒄿𒊭 Truwisa ซึ่งมักระบุเป็นที่ตั้งของฮีซาร์ลิก (Hisarlik) ในตำนานกรีก ชื่อนี้มีต้นตอจากชื่อของ Tros ผู้ก่อตั้งอาณาจักร กับ Ilus พระราชโอรส

ในภาษาละติน นครนี้ได้รับการเรียกขานเป็น Troia หรือ Ilium ส่วนในภาษาตุรกีโดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ Troya หรือ Truva

ชั้นทางโบราณคดี

ในตำนาน

ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แสดงการปล้นสะดมทรอยในตำนาน

งานวรรณกรรมหลักที่มีฉากในทรอยคือ อีเลียด มหากาพย์กรีกโบราณที่เล่าเรื่องช่วงปีสุดท้ายของสงครามโทรจัน ใน อีเลียด กล่าวถึงทรอยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่ร่ำรวยและมีอำนาจ ส่วนในบทกวีกล่าวถึงเมืองนี้ว่าเหมือนจะเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคที่สามารถเรียกพันธมิตรมากมายมาปกป้องได้ ตัวนครได้รับการบรรยายว่าตั้งอยู่บนเนินเขาสูงชัน ซึ่งได้รับการปกป้องด้วยกำแพงหินลาดขนาดมหึมา หอคอยทรงสี่เหลี่ยม และประตูไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถปิดได้ ถนนในนครกว้างและได้รับการวางแผนมาอย่างดี บนยอดเนินคือวิหารอะธีนาและพระราชวังพระเจ้าไพรอัม (King Priam's palace) ที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีห้องรอบ ๆ ลานภายในจำนวนมาก(pp 59–61)

ใน อีเลียด ฝ่ายอาเคียนตั้งค่ายใกล้ปากแม่น้ำสคาแมนเดอร์ที่พวกเขาจอดเรือไว้ ตัวนครอยู่บนเนินเขาตรงข้ามที่ราบสคาแมนเดอร์ ซึ่งเป็นที่ที่มีการสู้รบเป็นส่วนใหญ่

สถานะปัจจุบัน

ฝั่งตะวันตกของสันเขาทรอย ถนนจาก Tevfikiye มาจากทางขวา

รัฐบาลตุรกีจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ทรอยในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1996 กินพื้นที่ 136 ตารางกิโลเมตร (53 ตารางไมล์) ซึ่งรวมทรอยและบริเวณใกล้เคียง โดยมีจุดศูนย์กลางที่ทรอย จุดประสงค์ของอุทยานคือปกป้องสถานที่ทางประวัติศาสตร์และอนุสรณ์สถานภายในอุทยาน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค จากนั้นใน ค.ศ. 1998 อทยานนี้ได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

หมายเหตุ

  1. "Troy or Ilios (or Wilios) is most probably identical with Wilusa or Truwisa... mentioned in the Hittite sources
  2. "Troy or Ilios (or Wilios) is most probably identical with Wilusa or Truwisa ... mentioned in the Hittite sources
  3. "And Troy prevails by armies not her own".(line 160)
    "Assemble all the united bands of Troy; / In just array let every leader call / The foreign troops: this day demands them all."(lines 974–976)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Korfmann, Manfred O. (2007). Winkler, Martin M (บ.ก.). Troy: From Homer's Iliad to Hollywood epic. Oxford, England: Blackwell Publishing Limited. p. 25. ISBN 978-1-4051-3183-4.
  2. 2.0 2.1 Burney, Charles (2004). "Wilusa". Historical dictionary of the Hittites. Metuchen, NJ: Scarecrow Press. p. 311. ISBN 978-0-8108-4936-5.
  3. 3.0 3.1 Beekes, R.S.P. (2009). Etymological Dictionary of Greek. Brill. p. 588.
  4. 4.0 4.1 Said, Suzanne; Webb, Ruth (2011). Homer and the Odyssey. Oxford University Press. p. 77.
  5. Jablonka, Peter (2011). "Troy in regional and international context". ใน Steadman, Sharon; McMahon, Gregory (บ.ก.). The Oxford Handbook of Ancient Anatolia. Oxford University Press. p. 725. doi:10.1093/oxfordhb/9780195376142.013.0032. Since neither inscriptions confirming the Iliad nor definite proof for a violent destruction by invaders from Greece have been discovered at Troy...
  6. 6.0 6.1 Bryce, T. (2005). The Trojans and their Neighbours. Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-34959-8.
  7. Diodorus Siculus. Bibliotheca historica. 4.75.3.
  8. Virgil. Aeneid. 6.637-678.
  9. 9.0 9.1 "Book II". Iliad. แปลโดย Pope, A.
  10. Smith, William, บ.ก. (2020) . "Ilium". Dictionary of Greek and Roman Geography. Perseus Digital Library.
  11. Cenker, Işil Cerem; Thys-Şenocak, Lucienne (2008). Shopes, Linda; Hamilton, Paula (บ.ก.). Oral History and Public Memories. Philadelphia, PA: Temple University Press. p. 76. ISBN 978-1-59213-141-9.
  12. "The Historical National Park of Troy". Ministry of Culture and Tourism. 3 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น