สงครามกลางเมืองลาว

สงครามกลางเมืองลาว
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม, สงครามอินโดจีน และสงครามเย็น

พื้นที่ของลาวที่ถูกควบคุมโดยปะเทดลาว ถูกทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศสหรัฐเพื่อสนับสนุนราชอาณาจักรลาว
วันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
(16 ปี 6 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่
ผล

ปะเทดลาวและเวียดนามเหนือชนะ

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ทหาร 50,000 นาย (2497)
ทหารรับจ้าง 21,000 นาย (2506)
ทหารม้ง 19,000–23,000 นาย (2507)
8,000 นาย (2503)
48,000 นาย (2513)
ความสูญเสีย
กองทัพราชอาณาจักรลาวประมาณ 15,000 นาย ไม่ทราบ
มากกว่า 3,000 คน
รวมเสียชีวิต 20,000–62,000 คน

สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518) บ้างเรียก การปฏิวัติลาว เป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ (ปะเทดลาว) ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวลาวในประเทศเวียดนามเหนือ กับรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยทั้งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจแห่งสงครามเย็น ในหมู่ทหารอเมริกันจากกองกิจการพิเศษ หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา และทหารผ่านศึกชาวม้งเรียกสงครามนี้ว่า สงครามลับ (Secret War)

ราชอาณาจักรลาวกลายเป็นสมรภูมิลับระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในสงครามเวียดนาม สนธิสัญญาไมตรีและสมาคมฝรั่งเศส-ลาวที่ลงนามในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ส่งผลให้ฝรั่งเศสถ่ายโอนอำนาจที่เหลือคืนให้กับรัฐบาลลาวในระบอบกษัตริย์ ยกเว้นอำนาจควบคุมการทหาร โดยสนธิสัญญาไม่มีตัวแทนจากขบวนการลาวอิสระ ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีความคิดต่อต้านการล่าอาณานิคมและสนับสนุนแนวคิดชาตินิยม ได้ร่วมลงนามด้วย สนธิสัญญายังสถาปนาให้ลาวเป็นสมาชิกซึ่งมีสถานะเป็นเอกราชในสหภาพฝรั่งเศส หลังจากที่สนธิสัญญาได้รับการลงนาม ก็มีการต่อสู้กันทางการเมืองระหว่างฝ่ายนิยมความเป็นกลาง นำโดยเจ้าสุวรรณภูมา รัตนวงศา, ฝ่ายขวา นำโดยเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ และฝ่ายซ้าย ในนามแนวร่วมรักชาติลาว นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ และไกสอน พมวิหาน นายกรัฐมนตรีในอนาคต มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสม จนกระทั่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลสามพรรคได้สำเร็จ โดยจัดตั้งขึ้นที่นครเวียงจันทน์

การสู้รบในประเทศลาวเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพเวียดนามเหนือ, กองทัพอเมริกัน, กองทัพไทยและกองทัพเวียดนามใต้ ซึ่งทำการสู้รบทั้งทางตรงและผ่านทหารกองโจร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อครอบครองด้ามขวานของลาว กองทัพเวียดนามเหนือสามารถเข้าควบคุมพื้นที่นี้ได้ และนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้เป็นเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ และเป็นที่มั่นในการระดมกำลังเพื่อรุกเข้าไปยังเวียดนามใต้ จุดที่สองที่เกิดการสู้รบกันอย่างหนักที่ทุ่งไหหินและบริเวณโดยรอบ

กองทัพเวียดนามเหนือ และปะเทดลาว ได้รับชัยชนะในที่สุดใน พ.ศ. 2518 และถือว่าเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน

ภาพรวม

จากการประชุมเจนีวาใน พ.ศ. 2497 ลาวได้ประกาศให้ตนเองเป็นรัฐที่เป็นกลาง อย่างไรก็ตาม กองทัพประชาชนเวียดนาม (PAVN) ยังคงปฏิบัติการอยู่ในทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของลาว มีความพยายามหลายครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ในการบังคับกองกำลังเวียดนามเหนือให้ออกจากประเทศลาว แต่ไม่ว่าจะด้วยข้อตกลง หรือคำยินยอมใด ๆ ก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลฮานอย ซึ่งตั้งใจที่จะไม่ทิ้งสหายคอมมิวนิสต์ชาวลาวไป ออกไปจากประเทศได้

ฝ่ายเวียดนามเหนือจัดตั้งเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ขึ้นมา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว ซึ่งมีชายแดนติดเวียดนามอยู่ เส้นทางเสบียงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทหารเวียดนามเหนือสามารถแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้ได้ ทั้งยังเป็นเส้นทางในการส่งเสบียงไปเพื่อช่วยเหลือแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้อีกด้วย

ฝ่ายเวียดนามเหนือมีกำลังทหารเป็นจำนวนมากอยู่ทางตอนเหนือของลาว ซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังสนับสนุนกลุ่มกบฏคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว และเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับรัฐบาลลาวในระบอบกษัตริย์

หน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ที่ต้องการจะรบกวนปฏิบัติการณ์ในลาวโดยไม่ใช้กำลังทหาร ตอบโต้เวียดนามเหนือด้วยการฝึกกองโจรที่ประกอบด้วยชาวเขาบนดอยลาวประมาณ 30,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าม้ง กับชาวเผ่าเมี่ยนกับชาวเผ่าขมุอีกบางส่วน นำโดยนายพลหวังเปา จากกองทัพบกลาว ซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวม้ง กองทัพนี้ได้รับการสนับสนุนจากสายการบินแอร์อเมริกา (ซึ่ง CIA ควบคุมอยู่อย่างลับ ๆ), ประเทศไทย, กองทัพอากาศลาว และปฏิบัติการลับทางอากาศที่ควบคุมโดยเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศลาว เพื่อต่อสู้กับกองทัพประชาชนเวียดนาม, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ (NLF) และสหายปะเทดลาว ซึ่งผลการรบออกมาโดยที่ต่างฝ่ายต่างก็ยังคุมเชิงกันอยู่ แต่ก็ยังส่งผลดีต่อสหรัฐ อย่างมากในสงครามเวียดนาม

ความเป็นไปของสงครามทางตอนเหนือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลาของปี เมื่อฤดูแล้งเริ่มต้นขึ้น ซึ่งมักอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ปฏิบัติการณ์ทางทหารของทหารเวียดนามเหนือก็เริ่มต้นขึ้นเช่นกัน โดยทหารใหม่และเสบียงจะเดินทางจากเวียดนามเหนือลงมาตามทางที่แห้งพอจะเดินผ่านได้ ซึ่งอาจจะเริ่มเดินทางมาจากเดียนเบียนฟู ผ่านทางหลวงสภาพดีของแขวงพงสาลีลงมา หรืออาจจะผ่านทางสาย 7 ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทุ่งไหหิน กองทัพลับของ CIA จะยอมหลีกทางให้ โดยจะทำการก่อกวน PAVN และปะเทดลาวก่อนที่จะถอนกำลังออกไป จากนั้นกองควบคุมการบินระวังหน้าเรเวน (Raven FACs) จะสั่งให้โจมตีฝ่ายคอมมิวนิสต์ทางอากาศด้วยเครื่องบินไอพ่นของกองทัพอากาศสหรัฐ และกองทัพอากาศลาวก็จะโจมตีด้วยรถถัง ที-28 เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดครองนครเวียงจันทน์และหลวงพระบางได้สำเร็จ เมื่อฤดูฝนมาถึงในอีก 6 เดือนต่อมา ฝนที่ตกลงมาจะทำให้เส้นทางเสบียงของเวียดนามเหนือใช้การไม่ได้ จากนั้นฝ่ายเวียดนามก็จะต้องล่าถอยกลับไปยังประเทศของตนเอง

ในขณะเดียวกัน การสู้รบในบริเวณด้ามขวานทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการสู้รบเพื่อทำลายเส้นทางเสบียงโฮจิมินห์ ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะเป็นการโจมตีทางอากาศจากกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐ เนื่องจากข้อจำกัดทางการเมืองทำให้ไม่สามารถโจมตีเส้นทางเสบียงทางบกได้ Raven FACs ยังเป็นผู้สั่งการโจมตีทางอากาศในภูมิภาคนี้ด้วย ในขณะที่กองควบคุมการบินระวังหน้าอื่น ๆ จากเวียดนามใต้ อย่างเช่น Covey FACs จากกองบินยุทธวิธีสนับสนุนทางอากาศที่ 20 และ Nail FACs จากกองบินยุทธวิธีสนับสนุนทางอากาศที่ 23 ก็ทำการสั่งการโจมตีเช่นกัน การโจมตีทางอากาศอื่น ๆ จะได้รับการวางแผนล่วงหน้า โดยการประสานงานการยุทธทางอากาศโดยรวมจะถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมและบัญชาการทางอากาศ

บางครั้งสื่อในสหรัฐ จะรายงานถึงความขัดแย้งในลาว โดยเรียกความขัดแย้งนี้ว่า "สงครามลับในลาวของ CIA" เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะรัฐบาลปฏิเสธว่าความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้น การปฏิเสธจากรัฐบาลสหรัฐ ถูกพิจารณาว่าจำเป็นเนื่องจากทั้งรัฐบาลเวียดนามเหนือและรัฐบาลสหรัฐ ต่างก็ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความเป็นกลางของลาว แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐ ถือว่าการเข้าไปแทรกแซงนั้นจำเป็น เนื่องจากเวียดนามเหนือนั้นสามารถยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ในประเทศลาว อีกทั้งบทบาทของเวียดนามเหนือในลาวก็มีมากไม่แพ้กัน ถึงกระนั้น แม้รัฐบาลสหรัฐ จะปฏิเสธว่าได้เข้าไปเกี่ยวข้อง แต่สงครามกลางเมืองลาวก็ถือเป็นปฏิบัติการณ์ลับที่ใหญ่ทุกสุดของสหรัฐ ก่อนหน้าสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน มีการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องในดินแดนของลาวที่เวียดนามเหนือควบคุมอยู่ โดยเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการยุทธที่มีการทิ้งระเบิดหนักหน่วงที่สุดในประวัติศาสตร์ เจตจำนงค์ของสหรัฐ นั้นไม่พ้นการต่อสู้เพื่อเอาชนะสงครามเย็นด้วยการจำกัดการแพร่กระจายระบอบสังคมนิยม ซึ่งมาจากนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในการเผยแพร่ระบอบคอมมิวนิสต์ด้วยการบ่อนทำลายและการก่อกบฏ

ปฏิกิริยาของรัฐบาลประเทศไทย

ด้านประเทศไทยได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496 และได้มีการประกาศสถานการณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ สกลนคร และศรีสะเกษ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ต่อมารัฐบาลไทยได้สั่งให้ประชาชนอยู่ในเคหะสถานตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนถึงตี5 ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย ตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย กับในเทศบาลเมืองนครพนม ตำบลอุเทน อำเภออุเทน ตำบลบ้านแพง กิ่งอำเภอบ้านแพง ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม ตำบลมุกดาหาร อำเภอมุกดาหาร ตำบลศรีบุญเรือง ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497และออกคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ในวันเดียวกัน

ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497 รัฐบาลได้ออกข้อบังคับตามพระราชบัญญัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 โดยห้ามคนต่างชาติกักตุนสินค้า เรี่ยไรสินค้า ชวนคนไทยให้ก่อการเป็นปฏิปักษ์ต่อราชอาณาจักรหรือแม้แต่ให้ที่อยู่คนไทยเพื่อก่อการเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร และในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร

ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2501 มีการยกเลิก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม หนองคาย อุดรธานี อุตรดิตถ์ สกลนคร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และเขตท้องที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

อ้างอิง

  1. "The rise of Communism". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  2. "Global security - Pathet Lao Uprising". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  3. "Hmong rebellion in Laos". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  4. 4.0 4.1 "Area Handbook Series- Laos - Glossary". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
  5. T. Lomperis, From People's War to People's Rule (1996)
  6. "S&S": Small, Melvin & Joel David Singer, Resort to Arms: International and Civil Wars 1816–1980 (1982)
  7. Obermeyer, Ziad; Murray, Christopher J. L.; Gakidou, Emmanuela (2008). "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia: analysis of data from the world health survey programme". BMJ. 336 (7659): 1482–6. doi:10.1136/bmj.a137. PMC 2440905. PMID 18566045. See Table 3.
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/A/079/1.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/A/079/1_1.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/1_2.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/3.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/003/4_1.PDF
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/022/2.PDF
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/076/2.PDF
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/047/5.PDF

บรรณานุกรม

เอกสารรัฐบาล

ปะวัติศาสตร์

บันทึกความทรงจำ

ข้อมูลทุติยภูมิ

  • Adams, Nina S. and Alfred W. McCoy, eds. Laos: War and Revolution. New York: Harper & Row, 1970.
  • Breaux, Jarred James, The Laotian Civil War: The Intransigence of General Phoumi Nosavan and American Intervention in the Fall of 1960. Morrisville, North Carolina: Lulu, 2008.
  • Blaufarb, Douglas, The Counterinsurgency Era.
  • Champassak, Sisouk Na, Storm Over Laos. New York: Praeger, 1961.
  • Conboy, Kenneth; Morrison, James (1995). Shadow War: The CIA's Secret War in Laos (Paper ed.). Boulder CO: Paladin Press. ISBN 978-1581605358. ASIN 1581605358.
  • Corn, David, Blond Ghost: Ted Shackley and the CIA's Crusades. Simon & Schuster, 1994. ISBN 978-0-671-69525-5, ISBN 978-0-671-69525-5
  • Duiker, William J., The Communist Road to Power in Vietnam 2nd ed. Westview Press, 1996.
  • Issacs, Arnold, Gordon Hardy, MacAlister Brown, et al., Pawns of War: Cambodia and Laos. Boston: Boston Publishing co, 1987.
  • Karnow, Stanley, Vietnam: A History. New York: Viking, 1983.
  • Khamvongsa, Channapha; Russell, Elaine (2009). "Legacies of War: Cluster Bombs in Laos" (PDF). Critical Asian Studies. 41 (2): 281–306. doi:10.1080/14672710902809401. S2CID 142615236. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  • McCoy, Alfred W.; Read, Kathleen B. (1972), The Politics of Heroin in Southeast Asia, Harper & Row, ISBN 978-0060129019, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2015
  • McGehee, Ralph W. Deadly Deceits: My 25 Years in the CIA. New York: Sheridan Square, 1983.
  • Morrison, Gayle L. Sky is Falling: an Oral History of the CIA evacuation of the Hmong from Laos, Jefferson, North Carolina: McFarland, 1999
  • Osornprasop, Sutayut (2012), "Thailand and the secret War in Laos, 1960–1974", ใน Lau, Albert (บ.ก.), Southeast Asia and the Cold War (hardback), Milton Park, Abingdon, Oxon; New York: Routledge, ISBN 978-0-415-68450-7.
  • Robbins, Christopher (1985), Air America, New York: Avon.
  • ——— (2000), The Ravens: Pilots of the Secret War in Laos, Bangkok: Asia Books.
  • Schanche, Don A. (1970), Mister Pop, New York: David McKay Company, OCLC 68288
  • Thompson, Larry Clinton (2010), Refugee Workers in the Indochina Exodus, 1975–1982, Jefferson, North Carolina: McFarland & Co., ISBN 9780786445295.
  • Warner, Roger (1996), Shooting at the moon : the story of America' clandestine war in Laos, South Royalton, Vt.: Steerforth Press, ISBN 978-1883642365
  • Watry, David M. Diplomacy at the Brink: Eisenhower, Churchill, and Eden in the Cold War. Baton Rouge: Louisiana State University Press, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น